วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559



บทที่ 1
สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม


บทคัดย่อ
สภาพสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ทั้งทาง ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิต ของคนปัจจุบัน ต้องต่อสู้ดิ้นรนให้ทัน  กับสภาพของความแตกต่างเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ตามสภาวะแวดล้อมของสังคม โดยอาศัยการท างานประกอบอาชีพเป็นหลัก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ไม่ดีการศึกษาน้อยย่อมต้องทำงานหนักหรือใช้แรงงานคุณภาพชีวิตไม่ดี  ส่วนผู้ที่มี การศึกษาและมีฐานะเศรษฐกิจระดับกลางก็จะมีการประกอบอาชีพส่วนใหญ่จะอยู่ใน องค์กร พนักงาน ลูกจ้าง บริษัท ห้างร้าน หรือข้าราชการซึ่งอาจประสบกับปัญหาด้านที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการดำเนินชีวิตประจำวันรอบตัวของกลุ่ม บุคคล ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและก่อให้เกิดอุบัติเหตุการบาดเจ็บจากการประกอบ อาชีพได้

บทนำ
สิ่งแวดล้อมดี งานดี มีความปลอดภัยผลกำไรงอกงาม สิ่งแวดล้อมไม่ดี งานไม่ดี ไม่มีความปลอดภัย ผลกำไรถดถอย ”  จากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า สิ่งแวดล้อมที่ดีมีอิทธิพลต่อการทำงาน ที่จะทำงานได้อย่างสะดวกสบายทำให้ผลงานออกมามีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของลูกค้า สิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ เพราะไม่ต้องเสี่ยงภัยอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตที่ออกมาก็จะดีทั้งด้านปริมาณละด้านคุณภาพ เป็นที่นิยมของตลาด ทำให้บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ มีผลกำไรมากมายตามไปด้วย หากจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือขัดต่อหลักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และเมื่อมีการทำงานอย่างไม่ปลอดภัย มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการทำงานมากมาย ทำให้บริษัทหรือโรงงานนั้นๆ ก็ต้องมีการจ่ายเงินมากขึ้น ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ทำให้ต้องขาดทุน

ความหมายของสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวผู้ประกอบอาชีพใน สถานที่ทำงาน เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องอำ นวยความสะดวกต่างๆ ในการทำงาน   ความร้อน  ความเย็น  รังสีแสง เสียง ความสั่น  สะเทือน  ฝุ่น ละออง สารเคมี ก๊าซ บุคคลที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงาน ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่โดยทั่วๆ ไปในสถานที่ทำงาน และ ปัจจัยเกี่ยวข้องที่มาจากสภาพแวดล้อมในสังคมหรือชุมชน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปใน แต่ละชุมชน ได้แก่ สถานที่ตั้ง สภาพภูมิศาสตร์ อุณหภูมิ ความชื้น แสงแดด อัตราฝนตก คุณภาพน้ำ  สิ่งก่อสร้าง การคมนาคม สภาพอากาศ การจราจรที่แออัด กลิ่น เป็นต้น


ลักษณะและประเภทของสิ่งแวดล้อมในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ
ลักษณะของสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาในช่วงการท างานของทุกคนที่อยู่ ในสถานที่ทำงานประมาณวันละ 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 48 ถึง 54 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่ กับสภาพการท างานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของงาน เช่น อุตสาหกรรมก็จะมีสภาพ ที่เต็มไปด้วยเครื่องจักร สารเคมี เสียงดัง การสั่นสะเทือนมากเกินไป ระยะเวลาการทำงาน ที่ยาวนาน การระบายอากาศไม่ดี แสงสว่างไม่เพียงพอ สภาพการทำงานที่แออัด ร้อน หรือเย็นเกินไป หรือในภาคเกษตรกรรม ก็จะเกี่ยวข้องกับสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ฝุ่นละอองจากพืช เครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงต่างๆ  เขม่าควัน ความร้อนจากแสงแดด เป็นต้น ลักษณะของสิ่งแวดล้อมต่างๆ เหล่านี้ หากได้รับการเอาใจใส่ดูแลให้อยู่ในสภาพที่ สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีการควบคุมป้องกันมิให้เกิดเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ก็ย่อมส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพหรือผู้ใช้แรงงานทำ งานได้อย่างปลอดภัย ปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บ มีความสุขได้ตลอดไป ในทางตรงกันข้ามหากสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ เหมาะสม ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของความปลอดภัยแล้วย่อมก่อให้เกิดความ เสียหายต่อสุขภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ การบาดเจ็บ เกิดความ เสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและครอบครัว สังคมและ ประเทศต่อไป




ปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ล้อมรอบตัวผู้ปฏิบัติงานมีองค์ประกอบ 4 ประการ

1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  (Physical Environment)                
         สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน  ได้แก่ เสียงดัง ความร้อน ความสั่นสะเทือน  แสงสว่าง  ความกดดันบรรยากาศ  ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องจักร  อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งบริเวณสถานที่ทำงาน

2.สิ่งแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environment)
          สิ่งแวดล้อมที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเกี่ยวข้อง เช่น สารเคมีที่ใช้ สารเคมีที่เป็นผลผลิต สารเคมีที่เป็นของเสียต้องกำจัด  เช่น  สังกะสี  แมงกานีส สารตะกั่ว สารปรอท  สารเคมีนั้นอาจอยู่ในรูปของก๊าซ  ไอ ฝุ่น  ละลอง  ควัน หรืออยู่ในรูปของเหลว  เช่น  ตัวทำละลาย  กรด ด่าง เป็น

3.สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological  Environment)
         ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต  ไดแก่  แบคทีเรีย   เชื้อรา  ไวรัส  พยาธิ  และ สัตว์ อื่น ๆ เช่น งู  ตะขาบ และสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต  ได้แก่  ฝุ่นฝ้าย ฝุ่นข้าว ฝุ่นเมล็ดพืชต่าง ๆ

4.สิ่งแวดล้อมทางเออร์กอนอมิกส์  (Ergonomics)


เออร์กอนอมิกส์  ( ergonomic)

ภาพกิจกรรม  การทำงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน (Macieod, 1995:206)

           วิชาเออร์กอนอมิกส์และจิตวิทยาในการทำงานนี้ในปัจจุบันถือว่าเป็นวิทยากรและวิชาชีพแขนงหนึ่งซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประกอบอาชีพของคนในปัจจุบัน เนื่องจากคนทุกคนต้องทำงานหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดและทำงานเป็นสุขอย่างสมควร เดิมเออร์กอนอมิกส์  และจิตวิทยาในการทำงานเป็นองค์ความรู้ที่พัฒนาจากบุคคลทางการแพทย์เพื่อการศึกษาขีดความสามารถในการทำงานของคนว่าทำไมจึงเกิดความเหนื่อยล้า ต่อมาจึงได้พัฒนาจุดเน้นให้เข้าใจวิธีการทำงานโดยการออกแบบอุปกรณ์เครื่องจักรและสถานที่ให้เหมาะสมกับคน ดังนั้นเออร์กอนอมิกส์และจิตวิทยาจึงได้พัฒนาวิชาที่ประกอบด้วยสาระหลัก 3 ด้าน คือ    
   
1.  ระบบร่างกายของมนุษย์เองในการทำงานไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านทำงานอาชีพหรือเล่นกีฬา ( man as a system component or man’s basic capacity )

           2.  การทำงานของมนุษย์เมื่อต้องการใช้หรือเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรในเวลาทำงาน ( human aspect of system or human – machine interface )

              3.  สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในการทำงาน ( human and his work environment)



ภาพที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในอิริยาบถต่างๆ กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน

                สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาวะที่เกี่ยวกับจิตวิทยาสังคม  และเศรษฐกิจในการทำงาน  ได้แก่    สภาวะในการทำงานที่ถูกเร่งรัดหรือบีบบังคับให้ต้องทำงาน โดยไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ หรือมอบหมายให้ทำงานมากเกินกำลัง  หรือทำงานซ้ำซาก จนเกิดความเบื่อหน่าย  การทำงานล่วงเวลา  การทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่แปลกหน้า  สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความกดดันทางจิตใจ ซึ่งเป็นผลเสียต่อการปฏิบัติงาน


1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมการทำงาน

ปัจจัยที่สำคัญของการเกิดการประสบอันตรายจากการประกอบอาชีพ  ประกอบด้วย ผู้ประกอบอาชีพ  หรือคนงาน  และสิ่งแวดล้อมการทำงาน


ผู้ประกอบอาชีพหรือคนงาน 

 หมายรวมถึง  ผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม  เกษตรกรรม  ธุรกิจเอกชน  รัฐวิสาหกิจ  และราชการ  ซึ่งเป็นกลุ่มกำลังแรงงานที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ  ปกติแล้วผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นผู้ที่มีส่วนในการก่อให้เกิดภัยจากการประกอบอาชีพนั้น  ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากการขาดประสบการณ์  ขาดความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำ  มีทัศนคติ  และจิตสำนึกที่ไม่ปลอดภัย  และไม่ได้ป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม

สิ่งแวดล้อมการทำงาน 

เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญซึ่งอยู่รอบตัวผู้ประกอบอาชีพ  หรือคนงานในขณะทำงาน  ได้แก่  เครื่องจักรกล  อุปกรณ์อากาศที่หายใจ   แสงสว่าง  ฝุ่น  ละออง  สารเคมี  อื่น ๆ เชื้อโรค  และสัตว์ต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงสภาพการทำงานที่ซ้ำซาก  เร่งรีบ   เป็นต้น  ความไม่เหมาะสมของสิ่งแวดล้อมการทำงาน  นับว่าเป็นปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อให้เกิดการประสบอันตรายจากการประกอบอาชีพเช่นเดียวกัน  ลักษณะของการเกิดการประสบอันตรายจากการประกอบอาชีพนั้น  จะสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ประกอบอาชีพหรือคนงานต้องปฏิบัติงาน   เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมา   ซึ่งการทำงานนั้นผู้ประกอบอาชีพจะอยู่ภายในแวดวงของสิ่งแวดล้อมการทำงานแล้ว  ปัจจัยทั้งสองจะมี ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน  ดังนั้น  ถ้าหากปัจจัยทั้งสองมีความเหมาะสมกัน  คือ  ผู้ประกอบอาชีพมีทัศนคติที่ปลอดภัย  มีความรู้   ความเข้าใจ  และปฏิบัติตนเหมาะสม  และสิ่งแวดล้อมการทำงานมีความปกติ  และเหมาะสม  ก็ย่อมแน่ใจว่าไม่มีภัยจากการประกอบอาชีพ แต่หากปัจจัยหนึ่งหรือทั้งสองปัจจัยมีความบกพร่องหรือไม่เหมาะสมก็อาจคาดหมายได้ว่า  อาจมีการประสบอันตรายจากการประกอบอาชีพขึ้นได้  อาจเป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน    หรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากกการทำงานอย่างไรก็ตามเมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บขึ้น  คนงานนั้นอาจจะได้รับการตรวจวินิจฉัย  การรักษาพยาบาล   หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้านการแพทย์ให้หายได้  แต่เมื่อบุคคลนั้นกลับเข้าทำงานในสภาพของสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสมเช่นเดิมอีก   ในที่สุดบุคคลนั้นก็อาจได้รับอันตรายเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นอีกไม่มีที่สิ้นสุด


 1.2 สิทธิพื้นฐานของแรงงาน

ผู้ประกอบอาชีพต้องทำงานกับเทคโนโลยีต่างๆ  เครื่องจักร  และสารเคมีต่างๆ โดยไม่มีโอกาสรู้ถึงอันตรายต่อสุขภาพจากการที่ตนเองต้องสัมผัสกับเทคโนโลยีการผลิตต่างๆ  เช่น  ไม่ทราบว่าสารเคมีที่ตนสัมผัสอยู่เป็นรังสีที่มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง  และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง  เมื่อมนุษย์ทุกคนมีสิทธิมนุษย์ชน  ในทางสากลจึงประกาศสิทธิ
ขั้นสิทธิขั้นพื้นฐาน  3  ประการ  ที่ผู้ประกอบอาชีพดำรงสิทธินี้อยู่  ได้แก่

      1. สิทธิที่จะรู้  (Right  to  Know)  รู้ถึงอันตรายและปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีการผลิต

      2. สิทธิที่จะปฏิบัติ   (Right  to  Act)  ผู้ประกอบอาชีพดำรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะปฏิบัติงานที่ปลอดภัยแก่ตน

      3. สิทธิที่จะปฏิเสธ   (Right  to  Refuse)  ผู้ประกอบอาชีพดำรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะปฏิเสธ  ไม่ปฏิบัติงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของตนได้

1.3 ทักษะสำคัญของการทำงาน


1.ทักษะในด้านการสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์ (Communication & Relation skills)
สิ่งจำเป็นในการทำงานร่วมกันคือการสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์ซึ่งเป็นศิลปะในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีแก่กันกับบุคคล  เพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่  ความนับถือ  ความจงรักภักดี  และความร่วมมือดังนั้นทักษะด้านนี้จึงเป็นทักษะสำคัญอันดับต้นๆในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเพราะทักษะด้านนี้เป็นกลไกที่สามารถลดความขัดแย้งและยังเป็นการช่วยอำนวยการให้การติดต่อประสานงานกับแผนกอื่นๆให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและจะนำมาซึ่งความสำเร็จ

2.ทักษะในการแก้ปัญหา (Problem Solving Skills)
การแก้ปัญหาเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานและบริหารงานเพราะการปฏิบัติงานไม่ว่าในตำแหน่งใดๆก็ตามจะต้องเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่างๆดังนั้นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีระบบไม่เกิดความเครียดทางกายจิตใจเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้ปัญหาไม่ลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข  การแก้ปัญหาต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่เป็นระบบเริ่มตั้งแต่การกำหนดและแยกแยะสาเหตุของปัญหามีการตั้งเป้าหมายในการดำเนินการแก้ไขและวิเคราะห์รวมถึงวิธีการและการวัดผลหลังการแก้ไขและสร้างมาตรฐานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิม

3.ทักษะในการวางแผน (Organizing and Planning Skills)
การทำงานที่ขาดการวางแผนที่ดีเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ดังนั้นการมีทักษะในการวางแผนของพนักงานย่อมหมายถึงความสำเร็จเพราะการวางแผนคือการหาทางเลือกที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติงานเช่นการใช้แผนระยะยาวในการพัฒนาทักษะและฝีมือของแรงงานทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานหรือผลงานนั้นได้

4.ทักษะในด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ (Technology and Computer Skills)
ด้วยรูปแบบการทำงานและการพัฒนาของการสื่อสารที่ครอบคลุมมากขึ้นได้ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนในการกำหนดความต้องการของตลาดแรงงานผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่กำหนดทักษะในด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ไว้เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของการรับพนักงานใหม่ เพราะพนักงานที่มีทักษะในเรื่องของเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา   (Linguistic Skills)
 ด้วยความก้าวหน้าของการสื่อสารและการติดต่อประสานงานกันมากขึ้นทำให้ทักษะการใช้ภาษามีส่วนสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพราะฉะนั้นพนักงานที่สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ จะถือว่าได้เปรียบอย่างมากเพราะปัจจุบันมีผู้ลงทุนบริษัทจากต่างประเทศหรือการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้นองค์กรที่มีพนักงานที่มีทักษะและความสามารถด้านภาษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ทักษะกระบวนการทำงาน    

 หมายถึงการลงมือทำงานต่างๆด้วยตนเองโดยมุ่งเน้นการฝึกฝนวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอโดยมีขั้นตอนต่างๆดังนี้ 

1.               การวิเคราะห์งาน     เป็นการมองภาพรวมของงานเมื่อได้รับเป้าหมายว่าเป้าหมายของงานคืออะไรและทำอย่างไรจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

2.                 การวางแผนในการทำงาน  เป็นการกำหนดเป้าหมายของงานระยะเวลาในการดำเนินงานกำลังคนที่ใช้ในการทำงานค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ   เป็นต้น

3.               การลงมือทำงาน   เป็นการลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้ด้วยความมุ่งมั่นอดทนและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ

4.               การประเมินผลการทำงาน   เป็นการตรวจสอบ  ทดสอบหรือทดลองใช้ตั้งแต่การวางแผนการทำงานว่ารอบคอบ   รักดุม  
ครอบคลุม
  และสามารถปฏิบัติตามได้หรือไม่ 

ทักษะกระบวนการแก้ปัญห   

จะช่วยให้เกิดความคิดในการหาทางออก  เทื่อพบปัญหาในเวลาหรือสถานการณ์การทำงาน  โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 

1. สังเกต  นักเรียนควรฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต  สามารถศึกษาหรือรับรู้ข้อมูลมองเห็นและเข้าใจปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นได้ 

2. วิเคราะห์   เมื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว   ควรวิเคราะห์ว่าปัญหาที่มีมากน้อยเพียงใดและลำดับความสำคัญของปัญหา 

3. สร้างทางเลือก  ควรสร้างทางเรื่องในการแก้ปัญหาซึ่งอาจจะมีมากมายโดยการสร้างทางเลือกนั้นอาจจะมาจากการศึกษาค้นคว้าการทดลอง   การตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา 

4. ประเมินทางเลือก    ทางเลือกต่างๆที่สร้างขึ้นมาจากการศึกษาค้นคว้าหรืการตรวจสอบต่างๆควรพิจารณาให้ละเอียดว่าทางเลือกใดที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาที่สุด 


ทักษะการทำงานร่วมกัน

ขั้นตอนการทำงานมีหลักการดังนี้ 

1. รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม   ในการทำงานร่วมกับคนอื่นนั้น    ควรรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง 

2. มีทักษะในการพูดแสดงความคิดเห็นและอภิปรายในกลุ่ม     เมื่อทำงานร่วมกับคนอื่นควรฝึกฝนที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น 

3. มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน  เพื่อความสุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้ง 

4. สรุปผลโดยการจัดทำรายงาน   การทำงานกลุ่มใดๆก็ตามควรมีการสรุปผลออกมาอย่าเป็นรูปธรรม  อาจอยู่ในรูปแบบของการจัดทำรายงาน 

5. นำเสนองาน  เมื่อมีรายงานออกมาอย่างชัดเจน  เป็นเอกสารแล้ว ควรมีทักษะในการนำเสนองานการปฏิบัติงานของกลุ่มในรุ)แบบต่างๆ 


ทักษะการแสวงหาความรู้ 

ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถฝึกฝนได้จากการปฏิบัติต่อไปนี้ 

1. กำหนดปัญหาในการสืบค้นข้อมูลความรู้    คือการตั้งหัวข้อ   ตั้งประเด็นในการศึกษาค้นคว้า 

2. การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลความรู้  เมื่อคิดหาหัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการจะสืบค้นได้แล้ว  ควรวางแผน กำหนดเป้าหมายว่าจะสืบค้นข้อมูลความรู้จากที่ใด 

3. การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ตามแผนที่กำหนดไว้  คือการดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ในหัวข้อที่ต้องการ  ตามแผนงานที่วางไว้ 

4. การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นความรู้   การนำข้อมูลต่างๆมาพิจารณาอย่างละเอียดถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล 

5. การสรุปผล จากการสืบค้นความรู้และการบันทึกจัดเก็บเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ออกมาตามต้องการควรบันทึกจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมมาได้ต่างๆในรูปแบบที่ง่ายต่อการค้นหา     


ทักษะการจัดการ 

ทักษะการจัดการแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม ดังนี้ 

1. การจัดการระบบงาน โดยสามารถจัดสรรเวลาทำงานให้เป็นระบบปฏิบัติงานตามกฎระเบียบแบบแผนและขั้นตอนต่างได้

2. การจัดการระบบคน โดยมีความสามารถในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน  แบ่งปัน จัดสรรให้เหมาะสมกับงาน      







 บทที่ 2
ความปลอดภัยและอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เรามักจะได้ยินหรือได้เห็นคำขวัญที่ว่าปลอดภัยไว้ก่อน” (Safety First) ในอดีตซึ่งผู้บริหารด้านนี้ยึดถือและปฏิบัติมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันนักบริหารด้านความปลอดภัย ต้องการการผลิตที่มีประสิทธิภาพเหนือสิ่งอื่นใด โดยที่การผลิตนั้นต้องสำเร็จได้โดยมิได้มีผู้บาดเจ็บพิการเลย และสามารถลดค่าใช้จ่าย หรือความสูญเสียต่างๆ เหลือน้อยที่สุด จึงเกิดคำที่ว่า Safe Production (การผลิตที่มีความปลอดภัย) คือ ความปลอดภัยจะต้องสอดแทรกและกลมกลืนเข้าไปในขบวนการผลิตสินค้าของโรงงานจึงจะบรรลุเป้าหมายของการบริหารโรงงานได้ ความปลอดภัยมิใช่เป็นทรัพยากรของโรงงาน มิใช่สิ่งที่มีอิทธิพล มิใช่วิธีการ อีกทั้งมิใช่แผนงานหรือโครงการใดๆ แต่ความปลอดภัยเป็นสภาพทางจิตสำนึกอย่างหนึ่ง เป็นบรรยากาศที่จะต้องครอบคลุมและบรรจุอยู่ในทุกๆ วิธีการปฏิบัติงานในการบริหารงานผลิตของโรงงาน จึงจะถือได้ว่าความปลอดภัยเป็นแผนงานสอดแทรกและกลมกลืนกับแผนงานอื่น
               
 ความปลอดภัยในการทำงาน 

ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  “Occupational  Safety  and  Health”    หมายถึง การทำงานให้เป็นสุข  ที่ไม่มีอุบัติเหตุอันตรายอันเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย หรือการ กระทำที่ไม่ปลอดภัยของพนักงาน แสดงว่าการทำงานนั้นต้องไม่ทำให้เกิด

                1.การบาดเจ็บ พิการ หรือการตาย

                2.ทรัพย์สินเสียหาย

                3.ผลผลิตตกต่ำ หรือหยุดชะงัก

                4.การเสียเวลาที่จะปรับปรุงงาน

                5.ความเสื่อมในด้านขวัญและกำลังใจ

                6.ภาพพจน์ที่ไม่ดีแก่องค์การ

แนวคิดทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม บุคคลที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเปรียบเสมือนเครื่องจักร จะต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่ทำงานโดยไม่คำนึงถึงความเต็มใจ ความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน

ในปัจจุบันฝ่ายบริหารเล็งเห็นว่าบุคคลในองค์กรเป็นปัจจัยการผลิต (Factor of Management) ชนิดหนึ่งที่มีค่าและมีชีวิตจิตใจ บุคคลจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อมีความพร้อม มีความต้องการ มีความรู้สึกละอารมณ์ในการทำงาน ดังนั้นการที่องค์กรกำหนดให้พนักงานปฏิบัติงานจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น การจูงใจ (Motivation) การฝึกอบรม (Training) สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Environment) ตลอดทั้งความปลอดภัยในการทำงาน (Safety)

ความหมายของอุบัติเหตุ (Definition of Accident)

          อุบัติเหตุเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายและทรัพย์สินหรือไม่ก็ตาม เรียกว่า อุบัติเหตุ แต่ถ้าหากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลเสียหายเราเรียกว่า อุบัติภัย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน คำว่าเกิดอุบัติเหตุในบทความฉบับนี้ ถือว่า เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อนและก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ทรัพย์สินและเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ

2.1 สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและการป้องกันจากการทำงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายและเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ การเกิดอุบัติเหตุนั้นมักจะมีตัวการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
                1. ตัวบุคคล คือ ผู้ประกอบการงานในหน้าที่ต่างๆ และเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ   
                 2. สิ่งแวดล้อม  คือ ตัวองค์กรหรือโรงงานที่บุคคลนั้นทำงานอยู่
                3. เครื่องมือ เครื่องจักร คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

1. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่
    - เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพ
    - พื้นที่ทำงานสกปรกหรือเต็มไปด้วยเศษวัสดุ น้ำหรือน้ำมัน
    - ส่วนที่เป็นอันตรายหรือส่วนเคลื่อนไหวของเครื่องจักรไม่มีที่กำบังหรือป้องกันอันตราย
    - การวางผังไม่ถูกต้อง การจัดเก็บสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
    - สภาพการทำงานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน มีฝุ่นละออง

2. การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
    - การกระทำที่ขาดความรู้ ไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน
    - ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
    - การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
    - การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
    - การทำงานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
    - ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท
    - การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ
    - ความรีบร้อนเพราะงานต้องการความรวดเร็ว

 การป้องกันอุบัติเหตุ  มีหลักการหรือวิธีโดยแบ่งออกเป็น 3 สถานการณ์คือ  

1. การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือการป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น

    1.1 หลักการ 5 ส. สู่การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น
         1.1.1 สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย ใช้-ไม่ใช้
         1.1.2 สะดวก หมายถึงการจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
         1.1.3 สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ สถานที่ก่อนและหลังการใช้งาน
         1.1.4 สุขลักษณะ หมายถึงผู้ปฏิบัติงานต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
         1.1.5 สร้างนิสัย หมายถึงการสร้างนิสัยที่ดี

    1.2 กฎ 5 รู้       
         1.2.1 รู้ งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร
         1.2.2 รู้ การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
         1.2.3 รู้ วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
         1.2.4 รู้ ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
         1.2.5 รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

    1.3 ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ

2. การป้องกันขณะเกิดอุบัติเหตุ หมายถึงการเตรียมตัวล่วงหน้า เป็นการลดอันตรายให้น้อยลงหรือไม่เกิดอันตรายเลย มีหลักการดังนี้คือ

    2.1 การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอวัยวะของร่างกาย ดังนี้
         2.1.1 หมวกนิรภัย
         2.1.2 อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า ดวงตา
         2.1.3 อุปกรณ์ลดเสียง ป้องกันหู
         2.1.4 อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
         2.1.5 อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย แขนขา
         2.1.6 อุปกรณ์ป้องกันมือ
         2.1.7 อุปกรณ์ป้องกันเท้า

    2.2 การปฏิบัติงานโดยใช้การ์ดเครื่องจักร
         2.2.1 การ์ดเครื่องกลึง
         2.2.2 การ์ด
ครื่องเจียระไน
         2.2.3 การ์ดปิดส่วนที่หมุนของเครื่องจักร เช่น ฟันเฟือง

3. การป้องกันหลังการเกิดอุบัติเหตุ   คือการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนขึ้น หรือมีการลดอันตรายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    3.1 การอพยพ   การขนย้าย หลังการเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะมีการตกใจ ตื่นกลัว ดังนั้นควรมีการวางแผนการอพยพ หรือการขนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธ
     3.2 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อลดอันตรายให้น้อยลง เช่น การห้ามเลือด การผายปอด
    3.3 การสำรวจความเสียหายหลังการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ผู้บาดเจ็บ สถานที่                                                                                
 
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการรักษาความปลอดภัยในการทำงาน ประกอบด้วย

1. เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมของผู้ปฏิบัติงาน อาทิ ชนิดและแบบของเสื้อผ้า ทรงผม ถุงมือ รองเท้า แว่นตานิรภัย การสวมเครื่องประดับและอื่นๆมีความถูกต้องเหมาะสมเพียงใด

2. อาคารโรงงาน พิจารณาในด้านวัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารมีความทนไฟเพียงใด ทนต่อการผุกร่อนและมีอายุงานเท่าใด การออกแบบ
และการติดตั้งไฟฟ้า ระบบท่อลมอัด ท่อน้ำ ท่อไอน้ำหรือท่ออื่นๆมีความปลอดภัยเพียงใด สภาพพื้นโรงงานมีความคงทน และสะอาดเรียบร้อยเพียงใด

3. เครื่องมือเครื่องจักรกล มีการป้องกันอันตรายไว้เพียงใด และมีการจัดวางไว้ที่ตำแหน่งที่เหมาะสมเพียงใด

4. ทำความสะอาดเรียบร้อย ตรวจสอบสภาพความพร้อม และวินัยของพนักงานทำความสะอาดประจำโรงงาน

5. แสงสว่างภายในโรงงาน พิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน

6. การระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น

7. ระบบการจัดเก็บและการดูแลควบคุมวัสดุ มีการแยกประเภทของวัสดุออกตามประเภทหรือไม่ อาทิ เป็นประเภทโลหะ สารไวไฟ สารพิษ สารเคมีพิเศษต่างๆ รวมทั้งการกำจัดเศษวัสดุที่เลิกใช้แล้วอย่างใดบ้าง

 8. ระบบฉุกเฉิน อาทิ การปฐมพยาบาล การดับเพลิง ทางหนีไฟ ทางออกฉุกเฉิน เครื่องช่วยชีวิต เครื่องขยายเสียง ระบบสัญญาณเตือนภัย ระบบสื่อสารภายในและภายนอก การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น       




กรณีหยุดหายใจ


1. ยกคางขึ้นแล้วกดศีรษะให้หงายไปข้างหลัง จากนั้นเอาสิ่งของที่อยู่ในปากของผู้ป่วยออกให้หมด
2. บีบจมูกและอ้าปากของผู้ป่วย ประกบปากลงบนปากของผู้ป่วย แล้วค่อยๆเป่าลมจนเต็มปอด 2 ครั้ง
3. ประกบมือทั้งสองข้างบริเวณกลางหน้าอกของผู้ป่วย และกดลงไป 30 ครั้ง
    * กระทำซ้ำหลายๆครั้งจนกว่าผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง





 การห้ามเลือด

        
          1. ใช้ผ้าพันรอบแขนหรือขาสองรอบแล้วผูกเงื่อน 1 ปม                                                    
          2. ใช้ท่อนไม้วางบนเงื่อนแล้วผูกอีกเงื่อนหนึ่ง
          3. หมุนไม้เป็นวงกลมให้แน่นขึ้นจนกระทั่งเลือดหยุดไหล                    
          4. ผูกตรึงผูกตรึงปลายไม้ไว้ให้อยู่กับที่กันหมุนกลับ





อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

            ผู้ประกอบอาชีพหรือคนงานทุกอาชีพ มีโอกาสที่จะประสบกับอันตรายจากสภาพ การทำงาน หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานแต่ละชนิด แต่ละด้านแตกต่างกันไป ซึ่งจะ ศึกษาได้จากแผนภูมิดังนี้




                                        แผนภูมิที่2 อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

                  และเนื่องจากสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ไม่ได้ ควบคุมให้มีสภาพเหมาะสมได้มาตรฐาน ทำ ให้อัตราการเจ็บป่วย เป็นโรค หรือได้รับ อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการ ดำเนินงานอาชีวอนามัย และนำวิทยาการเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีความเหมาะสมมาใช้ ในการวิเคราะห์ประเมิน เพื่อการควบคุม ป้องกัน มิให้เกิดอันตรายกับคนทำงานประกอบ อาชีพได้อีก และเมื่อสภาพแวดล้อมของการท างานมีความปลอดภัย ก็ย่อมส่งผลให้ ผู้ประกอบการและผู้ประกอบอาชีพมีขวัญกำลังใจในการท างานสร้างสรรค์ผลงาน เพิ่ม ผลผลิต ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจ สังคม ทั้งของตนเองและประเทศชาติ มีแนวโน้มไปในทางที่ดีอีกด้วย




             แผนภูมิที่3 วงจรสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ซึ้งมีผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพ

1.อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environment)

        ในการทำงานของสถานประกอบการโดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม คนงานมี โอกาสในการสัมผัสกับสารเคมีที่มีความจำเป็นต้องใช้ในกระบวนการ ขั้นตอนของการผลิต ในรูปแบบของการเก็บสะสมรอใช้งาน หรือส่วนที่เป็นของเสียจากการผลิตที่มีลักษณะเป็น เขม่า ควันฝุ่นละออง ไอระเหย ของเหลว ก๊าซ ทำให้ผู้ ที่ทำงานเกี่ยวข้องต้องสัมผัสและเข้าสู่ร่างกาย ทา ให้เกิดการสะสมในบริเวณที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยกลายเป็นโรคเรื้อรัง หรือถึงกับพิการและเสียชีวิตได้ในที่สุด

อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางเคมี การที่คนงานหรือผู้ประกอบอาชีพ จะได้รับอันตรายจากสารเคมีจาก สภาพแวดล้อมในการทำงาน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยเกี่ยวข้อง ดังนี้

1. คุณสมบัติของสารเคมี เช่น ขนาด รูปร่างและความหนาแน่น และคุณสมบัติ ทางเคมี เช่น ละลายไขมันได้หรือไม่

2. ปริมาณหรือน้ำหนักที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและการสะสม

3. สภาวะของร่างกายของผู้ได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย เช่น เด็ก ผู้ใหญ่ เพศหญิง เพศชาย ผู้สูงอายุ จะมีความต้านทานที่แตกต่างกัน

 4. สภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และบริเวณสถานที่อับอากาศ มีผล ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้นได้ การเข้าสู่ร่างกายของสารเคมี มี 3 ทาง ดังนี้


        1. สารเคมีที่เข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจจะมีสภาพเป็นก๊าซ ไอสาร ฝุ่น ควัน ละออง ที่ปนอยู่ในอากาศ

        2. สารเคมีที่เข้าสู่ร่างกายโดยทางผิวหนัง ซึ่งบางชนิดอาจซึมผ่านผิวหนังได้ เช่น สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช แต่บางชนิดจะซึมผ่านผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือ บาดแผล

       3. สารเคมีที่เข้าสู่ร่างกายโดยทางปาก โดยการปนเปื้อนมากับน้ำหรืออาหารที่ รับประทานเข้าไป กลุ่มของสารเคมีที่เป็นพิษ แบ่งออกได้ตามลักษณะและคุณสมบัติของสารเคมี เช่น

1.1 ฝุ่น (Dusts) เป็นอนุภาคของแข็งที่ฟุ้งกระจายปะปนอยู่ในอากาศ โดยเฉพาะบริเวณที่ประกอบการหรือทำงานของคนงาน ซึ่งเกิดจากการแตกกระจาย การ บด การกระแทก การขัดถู การระเบิดวัตถุเคมีที่เป็นของแข็ง ฝุ่นละอองที่มี ขนาดใหญ่จะ ตกลงสู่พื้นได้ ย่างรวดเร็ว ส่วนฝุ่นละอองที่มี ขนาดเล็กจะฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศได้นาน ทำให้คนทำงานสูดหายใจเข้าไปสะสมในปอด และถ้าหาก 5 ไมครอน (Micron) (1 ไมครอนเท่ากับ 1/1000 เซนติเมตร) โดยทั่วไปมีผลต่อสุขภาพร่างกายไม่มากนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับ ชนิดของฝุ่นบางชนิด เช่น อาจทำให้เกิดอาการแพ้อาการคัน หรือรุนแรงจนทำให้เกิดเป็นพังผืดที่ปอด กลายเป็นโรคมะเร็งได้ หรืออาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ เนื่องจากหายใจเอาฝุ่น เข้าไปสะสมอยู่ในปอด ทำให้เป็นโรคปอดแข็ง หรือเรียกว่า นิวโม โคนิโอซีส” (Pneumoconiosis) ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง การหายใจ ลำบาก สาเหตุมาจากการทำงานในสถานที่มีฝุ่น ชนิดต่าง ๆ และหายใจเข้าไปสู่ปอด เช่น

- ฝุ่น ทราย หรือฝุ่น ซิลิก้า เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากพอก็จะ ทำให้เป็นโรคที่เรียกว่า ซิลิโคซีส” (Silicosis)

- ฝุ่น ใยแอสเบสตอส เป็นฝุ่นจากแร่ใยหิน จะทำให้เป็นเนื้องอกที่เซลล์ บุผิวของเยื่อหุ้มปอด เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดได้ โดยจะแสดงอาการให้เห็นในผู้ที่ สัมผัสเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี เรียกว่าโรคแอสเบสโตซีส (Asbestosis) จะมีอาการ เจ็บหน้าอก หายใจถี่ ตัวบวม น้ำหนักตัวลด ไอแห้ง สมรรถภาพการท างานของปอดลดลง

ฝุ่นจากเส้นใยของกากอ้อยที่บีบน้ำตาลแล้ว ซึ่งอาจมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ บางอย่างติดเข้าไปด้วย เมื่อผู้ที่ทำงานมีการสัมผัสและเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการแพ้ กับระบบทางเดินหายใจและปอด หรือเกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปอด เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคบาก๊าซโซซีส (Bagassosis)

ฝุ่นจากเส้นใยฝ้าย หากร่างกายได้รับและสะสมในปอดปริมาณมาก ซึ่งอาจมีเชื้อจุลินทรีย์บางตัวติดเข้าไปด้วย จะทำให้เกิดอาการแพ้ หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และระยะสุดท้ายอาจทำให้ ถุงลมปอดโป่งพองได้เป็นโรคที่ เรียกว่าบีสซิโนซีส (Byssinosis)

1.2 ฟูม (Fumes) เป็นอนุภาคของของแข็งที่ได้รับความร้อนจากการหลอม จนกลายเป็นไอ แล้วเกิดการควบแน่นในอากาศซึ่งปกติไอของโลหะจะมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน เช่น การหลอมเหล็ก ตะกั่ว สังกะสี เป็นต้น เมื่อคนทำงานได้รับเข้าสู่ร่างกาย ปริมาณมากจะทำให้เป็นอันตรายกับปอดและมีอาการไข้เป็นระยะๆ และจะหายไปในเวลา 24-28 ชั่วโมง

1.3 ควัน (Smoke) เป็นอนุภาคของคาร์บอนที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของวัตถุที่มีคาร์บอนเน็ท ส่วนประกอบได้แก่ พวก น้ำมัน ถ่านหิน ไม้กระดาษ และอื่นๆ ทำให้เกิดควันหรือเถ้าลอยปนอยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเข้า สู่ร่างกายอาจทำให้เกิดการระคายเคือง อาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจได้


1.4 ก๊าซ (Gases) เป็นรูปของสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในบรรยากาศทั่วไป ซึ่งเกิดจากธรรมชาติและโรงงานอุตสาหกรรม การคมนาคม การขนส่ง ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ แอมโมเนีย ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อร่างกายได้รับก๊าซในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อ ร่างกายจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซ เช่น หายใจไม่ออก เกิดการ ระคายเคืองต่อระบบการหายใจ อาการแพ้ที่ปอด หรือรบกวนกระบวนการเคลื่อนย้ายและ การใช้ออกซิเจนของร่างกายเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

1.5 ละออง (Mists) เป็นอนุภาคของของเหลวที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ เนื่องจากการทำงานที่มีกระบวนการ การพ่นหรือการ ชุบโลหะด้วยวิธีการใช้ไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และละอองบางอย่างยังออกฤทธิ์เป็น กรดหรือด่าง เมื่อสูดหายใจเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อจมูก และเยื่อบุจมูก หรือเยื่อบุจมูกอักเสบ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้

1.6 ไอสาร (Vapor) เกิดจากการระเหยเป็นไอสารไปปนอยู่ในอากาศของ ก๊าซของสารที่เป็นของแข็งหรือของเหลว เช่น เบนซิน (Benzene) เมื่อหายใจเข้าสู่ ร่างกายในปริมาณมากจะเป็นอันตรายต่อระบบหายใจและระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ได้

1.7 สารตัวทำละลาย (Solvents) เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งมี ใช้กันมากในอุตสาหกรรม ของเหลวใช้สำหรับเป็นตัวทำละลายอินทรีย์อื่นๆ ได้แก่ เบนซิน (Benzene) น้ำมันสน (Turpentine) และแอลกอฮอล์ (Alcohol) เมื่อเข้าสู่ร่างกายใน ปริมาณมากจะทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของร่างกาย เกิดอาการแพ้หรือเป็นพิษ หรือ อาการผิดปกติเรื้อรังได้ คือ จะทำลายโลหิต ปอด ตับ ไต ระบบทางเดินอาหารและอวัยวะ สำคัญๆ หรือเนื้อเยื่อซึ่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและขนาดความรุนแรงของตัว ทำละลาย
      
        การได้รับสารเคมีบางชนิดเข้าสู่ร่างกายทีละน้อยๆ และสะสมในร่างกายจนเกิด เป็นพิษขึ้นมาทำให้มีอาการผิดปกติ หรือเป็นโรคปอดชนิดอื่นๆ และอาจทำให้เกิด โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งที่ระบบสร้างเม็ดโลหิต มะเร็งระบบทางเดินหายใจ มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น


วิธีการควบคุมฝุ่นละออง

                 ในสถานประกอบการจำเป็นต้องหาวิธีการควบคุมและป้องกันมิให้ สภาพแวดล้อมของการทำงานเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพหรือคนงาน หรือสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป ซึ่งในสถานประกอบการที่มีปัญหาหาเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ ที่ใช้ใน กระบวนการผลิต เช่น สารเคมีฝุ่นต่างๆ โดยใช้วิธีการทางวิศวกรรมควบคุมหรือวิธีการ อื่นที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการทำงาน ได้แก่

1. วิธีการปิดคลุมต้นตอหรือแหล่งที่เกิดมีปัญหาสารเคมีหรือฝุ่นมาก เช่น ติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะจุดที่มีปัญหาและต้องไม่ไปทำความเดือดร้อนเสียหายให้ที่อื่นต่อไปด้วย

2. แยกกระบวนการหรือเครื่องจักรที่เป็นต้น เหตุของปัญหาออกจากบริเวณที่มีคนทำงานจำนวนมาก หรือหาวิธีการที่จะทำให้คนทำงานสัมผัสกับบางสิ่งที่ก่อให้เกิด ปัญหา น้อยที่สุด

3. ใช้วิธีการหาวัสดุที่มีอันตรายน้อยกว่ามาใช้แทนวัสดุที่เป็นอันตรายมาก

4. การทำให้เกิดความชื้นหรือระบบเปียกเข้าช่วยเพื่อลดการฟุ้งกระจายของ ฝุ่นหรือสารเคมี

5. การติดตั้งระบบการจัดหรือกักเก็บบรรจุถุงหรือติดตั้งเครื่องดูดเฉพาะที่ ณ จุดทำงาน

6. ทำความสะอาดเป็นประจำจะช่วยลดสารตกค้างหรือฝุ่นละอองได้มากขึ้น

7. การใช้วัสดุเครื่องป้องกันสำหรับร่างกาย

2. อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environmental)

           เป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ประกอบอาชีพตลอด ระยะเวลาในแต่ละวันในการท างานที่มีการใช้เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ หรือสภาพการ ท างานที่เสียงดังเกินไป มีความสั่นสะเทือน มีความร้อน ความเย็นสูง หรือมีความกดดันที่ผิดปกติ หรือแม้กระทั่งรังสีต่างๆ เมื่อร่างกายได้รับและสะสมเป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงจะแสดงอาการของความเจ็บป่วย ความสูญเสีย หรือความพิการอย่างถาวรของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ซึ่งสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพออกเป็น

2.1 เสียงรบกวน (Noise) ที่เกิดจากการท างานในสถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักรในกระบวนการผลติ เช่น เสียงฟันเฟืองกระทบกันเสียงจากเครื่องบดหิน แร่ บดโลหะ เสียงจากเครื่องยนต์เครื่องกำหนดไฟฟ้า มอเตอร์เครื่องตี เครื่องทุบอัด เสียงจากการท างานของเครื่องจักรที่มีสายพานหมุนด้วยความเร็วสูงที่ ท างานตลอดเวลา เป็นสาเหตุของการเกิดอันตรายและการบาดเจ็บของหูและร่างกายได้ เช่น ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงเนื่องจากเสียงรบกวนทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการ ท างานเนื่องจากการสื่อความหมายหรือความผิดพลาดจากการสั่งงาน ทำให้ไม่มีสมาธิใน การทำงาน สร้างความรำคาญทำให้เกิดความเบื่อหน่ายส่งผลต่อสุขภาพจิต สุขภาพกาย ต่อไปด้วย และผลเสียที่สำคัญที่สุดคือทำให้

สมรรถภาพการได้ยินลดลง หูอื้อ หูตึง จนกระทั่งสูญเสียการได้ยิน หรือหูหนวกซึ่งอันตรายจากเสียงดังรบกวนดังกล่าวจะส่งผล กระทบกับผู้ประกอบอาชีพในระดับมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับระดับความดังของเสียง และระยะเวลาในการท างานที่ได้รับเสียง หากการท างานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง มากเป็นเวลานานก็ย่อมส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายมาก ซึ่งความไวของหูต่อความถี่ของ เสียงในการรับฟังของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป เช่น


             การกำหนดมาตรฐานความดังของเสียง

              ประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเรื่องสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ได้มีประกาศกำหนดให้มีระดับความดังของเสียงไม่เกิน 90 เดซิเบล (เอ) สำหรับลูกจ้างที่ ท างานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง และระดับความดังของเสียงไม่เกิน 80 เดซิเบล (เอ) สำหรับ ลูกจ้างที่ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง และตามมาตรฐานสากลกำหนดให้มีระดับความดัง ของเสียงไม่เกิน 85 เดซิเบล (เอ) สำหรับผู้ที่ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และระดับความดังไม่ เกิน 90 เดซิเบล  (เอ) สำหรับผู้ที่ทำงานวันละ 4 ชั่วโมง
               
           ส่วน OSHA หรือ องค์กรความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของ สหรัฐอเมริกา ได้เสนอแนะการกำหนดระยะเวลาในการสัมผัสเสียงของคนทำงานที่มีความ ดังของเสียงแตกต่างกันตามตารางต่อไปนี้
   

ความดัง (เดซิเบล เอ)
90
91
92
93
94
95
96
97
98
ระยะเวลาสัมผัส (ชั่วโมง)
8
7
6
5
4.5
4
3.5
3
2.5

ความดัง (เดซิเบล เอ)
99
100
101
102
103
104
105


ระยะเวลาสัมผัส (ชั่วโมง)
2.25
2
1.75
1.75
1.25
1.05
1



ความดัง (เดซิเบล เอ) 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
ระยะเวลาสัมผัส (นาที) 52 45 37 33 30 25 22 18 16 15

                                 ที่มา : วิทยา อยู่สุข, (2549) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย



วิธีการป้องกัน อันตรายจากเสียง

              ในสถานประกอบการที่มีการทำงานที่ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนนั้นควร จะต้องมีการวิเคราะห์ค่าความเสี่ยงและหาวิธีการจัดการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเป็นอันตราย ต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานของทุกคน ดังนี้

1. ตรวจวิเคราะห์หาค่าระดับความดังของเสียงภายในสถานประกอบการ ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือควรจะต้องดำเนินการควบคุมป้องกัน

2. มีมาตรการกำหนดเพื่อควบคุมมิให้เกิดการสูญเสียการได้ยินของ คนงาน

3. หาวิธีการลดระดับเสียงดังจากแหล่งกำเนิดของเสียงและพยายาม ควบคุมเพื่อมิให้เป็นอันตรายกับคนงาน

4. กำหนดระยะเวลาการทำงานที่ต้องสัมผัสกับเสียง

5. ควรมีการตรวจวัดระดับการได้ยินของคนงานที่สัมผัสกับเสียงดัง

6. ใช้อุปกรณ์เครื่องป้องกันส่วนบุคคล

7. การตรวจเช็คเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดค่าระดับความดัง ให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ

8. การบันทึกรายงานหรือสถิติต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์

วิธีการควบคุม เสียงรบกวน (Noise Control)

1. แยกคนงานออกจากบริเวณต้นกำเนิดเสียงให้มากที่สุดหรือกำหนด ระยะเวลาไม่ให้คนงานเข้าไปทำงานในบริเวณที่มีต้นกำเนิดของเสียงรบกวนนานเกินไป

2. ติดตั้งเครื่องจักรบนแผ่นวัสดุที่แข็งแรงและมีความยืดหยุ่นเพื่อลด แรงสั่นสะเทือนของเครื่องจักรและทำให้ไม่เกิดเสียงดังจากแรงสั่นสะเทือน

3. ใช้วัสดุที่ช่วยดูดซับเสียงและไม่ทำให้เกิดเสียงสะท้อน

4. ควรมีการดูแลซ่อมแซมเครื่องจักรให้มีสภาพดีพร้อมใช้งานและไม่ ก่อให้เกิดเสียงดัง หรือหาเครื่องจักรใหม่ที่ไม่มีเสียงดังมากเข้ามาทดแทนเครื่องจักรที่ ช ารุดและเสียงดัง

5. พัฒนากระบวนการผลิต หรือวิธีการท างานโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงดัง


6. ลดเวลาในการท างานที่ต้องสัมผัสกับเสียงดังรบกวนให้กับคนงาน เช่น ความดัง 95 เดซิเบล ต้องทำงานไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง หรือถ้า 100 เดซิเบล ต้อง ท างานไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง และถ้าหากระดับเสียงเกินกว่า 115 เดซิเบล ไม่ควรมีใคร เข้าไปทำงานทั้งสิ้น

7. ใช้อุปกรณ์เครื่องป้องกันส่วนบุคคล ซึ่งจะต้องศึกษาและใช้ให้ เหมาะสมกับลักษณะของเสียงกับงาน

2.2 การสั่นสะเทือน (Vibration)

              ในการทำงานที่มีกระบวนการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิด แรงสั่นสะเทือน ไม่ว่าจะเป็นงานอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การก่อสร้าง การขนส่ง เช่น เครื่องเจาะถนน เครื่องคัด เครื่องอัด เครื่องเจาะคอนกรีต รถบรรทุกขนาดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ทั้งร่างกายหรือเป็นเฉพาะจุดที่สัมผัส กับเครื่องมือก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานเฉพาะอย่างของเครื่องมืออุปกรณ์นั้น ผลของการสั่นสะเทือนจะทำให้โมเลกุลภายในเซลล์ของร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวสั่นรัวทำให้ร่างกายเกิดความเมื่อยล้า เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ตาพล่ามัว ประสิทธิภาพของการทรงตัวของร่างกายและการท างานลดลง อวัยวะภายในทำหน้าที่ผิดปกติได้ เช่น เกิดอาการเจ็บปวด บริเวณกระเพาะหรือไต ไขสันหลังอักเสบ เนื้อเยื่ออ่อนของข้อมือถูกทำลาย กล้ามเนื้อมืออักเสบ ปลายประสาทบริเวณมือเสียไป เส้นเลือดตีบทำให้เลือดไป เลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นไม่พอ และอาจทำให้นิ้วมือเกิดอาการตายได้ เรียกโรคนี้ว่า เรย์โนด์ (Raynoud’s Syndrome) จะอยู่ที่คลื่นความถี่ที่ 40 ถึง 300 เฮิรตซ์

วิธีการป้องกันอันตรายจากแรงสั่นสะเทือน

         การทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่มีแรงสั่นสะเทือนทั้งมาก หรือน้อยก็ตาม ควรเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีความสมบูรณ์และลดแรงสั่นสะเทือนใน การทำงาน ใส่เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับ ป้องกัน เช่น ถุงมือสำหรับลดแรงสั่น สะเทือน ใช้อย่างถูกวิธี ลดเวลาการทำงานให้น้อยลง มีการฝึกหัดอบรมการใช้เครื่องมืออุปกรณ์มา เป็นอย่างดี และควรมีการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนการทำงาน

2.3 แสงสว่าง (Lighting)

              แสงสว่างเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการมองเห็นใน การทำงาน และจะทำให้การท างานนั้นมีความสะดวกปลอดภัย หรือก่อให้เกิดอันตราย ขึ้นกับคนงานได้ ถ้าหากแสงสว่างไม่มีความเหมาะสมพอดีกับสภาพความต้องการของ การทำงาน เช่น สว่างจ้าเกินไป หรือแสงสว่างน้อยเกินไป ความเข้มของแสงสว่างนั้นมี หน่วยวัดเป็นลักษ์ (Lux) ซึ่งใช้เครื่องวัดแสงที่เรียกว่า ลักซ์มิเตอร์ หรือ โฟโตเมตริก มิเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแหล่งกำเนิดของแสงสว่างมาจาก 2 แหล่งใหญ่ คือ

    - แสงสว่างที่ได้จากธรรมชาติ คือ แสงสว่างจากธรรมชาติจาก แสงอาทิตย์เป็นส่วนใหญ่


- แสงสว่างจากการประดิษฐ์ขึ้น คือ แสงสว่างที่ได้จากไฟฟ้า ซึ่งการ เลือกใช้ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมตามลักษณะของงาน และการติดตั้งต่อให้ถูกต้อง มากที่สุดจากช่างผู้ชำนาญการ เนื่องจากถ้ามีการผิดพลาดในเรื่องเกี่ยวกับแสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว จะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายและการมองเห็น ในกรณีที่มีแสงสว่างน้อย เกินไปก็จะทำให้ผู้ที่ทำงานต้องเพ่งมากขึ้น ม่านตาถูกบังคับให้เปิดกว้าง เกิดอาการ เมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา ทำให้ปวดตา มึนศีรษะหรือปวดศีรษะ อาจก่อให้เกิดการทำงาน ที่ผิดพลาด เกิดเป็นอุบัติเหตุในการทำงานได้ บางรายอาจมีผลกระทบต่อภาวะจิตใจ ขวัญ กำลังใจในการท างานลดลง ส่วนการท างานในสถานที่ที่แสงสว่างมากเกินไปหรือเกิน ความต้องการของผู้ใช้ จะทำให้เมื่อยล้าของสายตา ปวดตา หรือเกิดอาการอักเสบของเยื่อ บุตา กระจกตา และการอักเสบของเนื้อเยื่อส่วนรับภาพของตา ซึ่งอาจทำให้สายตา เสื่อมสภาพหรือตาบอดได้ 

หลักและวิธีการจัดแสงสว่างอย่างถูกต้อง

1. ควรจัดแสงสว่างโดยทั่วไปในพื้นที่การท างานอย่างทั่วถึงทั้งบริเวณ (General Lighting) มีความเข้มของแสงสม่ำเสมอกันทั้งหมด

2. ควรจัดแสงสว่างเฉพาะที่โดยทั่วไป (Localized General Lighting) เป็นการจัดติดตั้งแสงสว่างเฉพาะที่เพื่อป้องกันมิให้การเกิดเงาและแสงสะท้อนเกิดขึ้น

3. การให้แสงสว่างเพิ่มขึ้นเฉพาะจุด (Local Lighting) เป็นการเพิ่ม ความสว่างของแสงเฉพาะบริเวณที่จุดใดจุดหนึ่งที่จำเป็นสำหรับงาน

4. การเสริมแสงสว่าง (Supplementary Lighting) คือการเพิ่มหรือติดตั้ง แสงสว่างเสริมตามความจำเป็นของส่วนงานอย่างเหมาะสมกับบริเวณพื้นที่

2.4 ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติ(Abnormal Pressure)

                คือ ความ กดดันบรรยากาศที่ผิดปกติในขณะที่อยู่สูงหรือต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปกติที่ 760 มิลลิเมตร ปรอท แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

 –  ความกดดันที่ต่ำกว่าปกติ ของผู้ที่ต้องขึ้นไปในที่สูงมาก เช่น พนักงาน ทำงานบนเครื่องบิน ผู้ที่เดินทางโดยทางเครื่องบิน จะทำให้ฟองก๊าซไนโตรเจนเกิดใน กระแสโลหิตและขยายตัวในเนื้อเยื่อของเหลวในร่างกาย ทำให้ขาดออกซิเจนเกิดอาการ เมื่อยล้า ง่วง ปวดศีรษะ อาเจียน และถ้าหากฟองก๊าซนี้ไปอยู่ตรงกล้ามเนื้อและข้อต่อจะ ทำให้เกิดตะคริว การท างานของกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน และอาจเกิดอัมพาตขึ้น ได้เนื่องจากฟองก๊าซไปอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณสมอง

-    ความกดดันที่สูงกว่าปกติ คือ การท างานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ ผิดปกติ สูงกว่าความกดดันของระดับน้ำทะเล ได้แก่ คนที่ต้องทำงานในอุโมงค์ใต้ดิน ทำงานใต้น้ำ ใต้ทะเลลึก ซึ่งจะเกิดความกดที่แตกต่างกันระหว่างภายนอกกับภายใน ร่างกาย เกิดแรงบีบอัดมาก ทำให้ปวดหู หรือทำให้แก้วหูฉีกขาดได้ และถ้าลงไปลึกมากๆ ความกดดันยิ่งสูงมากขึ้น แรงบีบอัดก็จะสูงขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดมากขึ้น และแรงบีบ อัดมากขึ้นทำให้โลหิตหรือของเหลวถูกดันเข้าไปสู่ทางเดินหายใจและถุงลมเป็นอันตราย ต่อชีวิต นอกจากนั้นยังอาจเกิดอาการง่วง มึนงง เนื่องจากก๊าซไนโตรเจนไปละลายไขมัน และฟองโนโตรเจน ยังอาจทำให้เกิดอาการปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ หรือเกิดการอุดตันเส้น เลือดของไขสันหลังทำให้เกิดอัมพาตได้

             การป้องกันอันตรายจากความกดดัน บรรยากาศที่ ผิดปกติโดยการสร้าง ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายที่จะเกิดจากการทำงานและการฝึกอบรม วิธีการปฏิบัติที่ ถูกต้อง การใช้อุปกรณ์เสริมในการทำงานอย่างปลอดภัย รวมทั้งการเตรียมความพร้อมใน การให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น


2.5 ความร้อน (Heat)

          เป็นสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้จากธรรมชาติของ การทำงาน เช่น การทำงานกลางแจ้งที่มีแดดร้อนจัด และการทำงานในอุตสาหกรรมการ ผลิตที่ต้องใช้ความร้อน เช่น อุตสาหกรรมหลอมโลหะ อุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา อุตสาหกรรมแก้ว ความร้อนสูงจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทำให้อัตราการเต้นของ หัวใจเพิ่มขึ้น และมีการขับเหงื่อ (Sweating) ของร่างกายเพื่อเป็นการรักษาระดับพลังงาน และเป็นการถ่ายเทความร้อนของร่างกาย ซึ่งในคนปกติขณะพักร่างกายจะขับเหงื่อและเกลือแร่ประมาณ 1 ลิตรต่อวัน สำหรับการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูง หรือ ทำงานหนัก ร่างกายจะขับเหงื่อและเกลือแร่ประมาณ 4 ลิตรต่อ 1 ชั่วโมง หากร่างกายไม่ สามารถขจัดความร้อนออกจากร่างกายได้ทัน จะส่งผลทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น เป็นตะคริว เนื่องจากความร้อน (Heat Cramp) เป็นลมปัจจุบันหรือเป็นลมหมดสติ (Heat Stroke) อาการอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion) และโรคจิต ประสาทเนื่องจากความร้อน (Heat Neurosis) ความร้อนส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้เกิด ความเมื่อยล้า แสดงความเฉยเมย ประสิทธิภาพการท างานลดลง เบื่ออาหาร

               การแก้ไข คือ การนำผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากความร้อนหรือผู้ป่วยออก จากความร้อนมาสู่สถานที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เย็นสบาย นอนพักผ่อน ใช้ผ้าชุบน ผ้าเย็น เช็ดตัว หรือดื่มน้ำเกลือ 0.1 เปอร์เซ็นต์และอาจนวดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของ โลหิต

วิธีการควบคุม ความร้อน (Heat Control)

         เพื่อป้องกันอันตรายอัน อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. การลดอุณหภูมิ โดยการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ การเพิ่มช่องทาง ระบายอากาศ การแยกแหล่งความร้อนออจากบริเวณทำงาน

2. การใช้แผ่นป้องกันความร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนที่แผ่รังสีความ ร้อนออกมา ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นฉากจากวัสดุผิวเรียบ เพื่อสะท้อนกลับของความร้อน และ แบบดูดซับความร้อนไว้เพื่อไม่ให้แผ่กระจายไปอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ พวกยิบซัม        ยางมะตอย

3. การแลกเปลี่ยนความร้อนโดยการใช้น้ำเป็นตัวผ่ายความร้อน ทำให้ความร้อนลดลงโดยน้ำผ่าน

4. การใช้แผ่นฉนวนกันความร้อน เพื่อดูดซับความร้อนไว้ เช่น แผ่นยิบซัม แผ่นแอสเบสตอส เป็นต้น

5. ใช้แผ่นกระจกสะท้อนหรือดูดซับความร้อนเป็นฉากป้องกัน

6. การใช้อุปกรณ์เครื่องป้องกัน ความร้อนส่วนบุคคล สำหรับ การทำงาน ที่มี ความร้อนสูง เช่น ชุดป้องกัน ความร้อนซึ่งมีการออกแบบพิเศษให้เหมาะสมกับการ ใช้งาน

7. ลดระยะเวลาการท างานของผู้ที่ต้องทำงานในที่ที่มีความร้อนสูง เพื่อ มิให้คนงานสัมผัสกับความร้อนเป็นเวลานานๆ


2.6 ความเย็น (Cold)
        คือ การทำงานในสถานที่ที่มีอุณหภูมิต่ำมากกว่าปกติ เช่น ในงานอุตสาหกรรมห้องเย็น หรือลักษณะงานที่ต้องใช้ความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำ มากในการผลิต จะทำให้ผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เย็นจัดนั้นเกิดอาการชา หมด ความรู้สึก เนื่องจากการไหลเวียนของโลหิตไม่ดี หรือหยุดไหลเวียนเป็นเวลานาน ซึ่งอาจ ทำให้เกิดอาการตายของเนื้อส่วนนั้นได้ โรคที่เกิดจากความเย็นโดยทั่วไป ได้แก่ ชิลเบลนส์ (Chilblains) ฟรอสไบท์ (Frostbite) หรือ เรย์โนด์ (Raynoud’s Disease)

            วิธีการป้องกันอันตรายจากความเย็น โดยการคัดเลือกผู้ที่จะมา ปฏิบัติงานที่มีความแข็งแรง พร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน อย่างปลอดภัย และมีเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับใช้ป้องกันตนเองขณะปฏบัติงิานที่สมบรูณ์

2.7 รังสี

 เป็นพลังงานที่นำมาใช้ประโยชน์ในการท างานและอาชีพ ซึ่งส่วน ใหญ่นำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการแพทย์ ที่มีทั้งชนิดที่แตกตัวและไม่ แตกตัว ดังนี้

1. รังสีที่แตกตัวหรือกัมมันตภาพรังสี (Lonizing Radiation) เป็นรังสีที่ เกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้แก่ รังสีอัลฟา (Alpha) เบตา (Beta) รังสีเอ็กส์ (X-ray) รังสี แกมมา (Gamma) และรังสีนิวตรอน (Neutron) ซึ่งรังสีที่แตกตัวนี้หลายชนิดมีอำนาจทะลุ ทะลวงสูงพอที่จะทำอันตรายเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ จึงนำมาใช้ ประโยชน์ทั้งทางการแพทย์และอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่

2. รังสีที่ไม่มีการแตกตัว (Non-lonizing Radiation) เป็นรังสีแม่เหล็ก หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้แก่ รังสีอัลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet) รังสีอิลฟาเรด (Infrared) รังสีไมโครเวฟ (Microwave) คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ รังสีเรเซอร์ (Laser radiation) รังสีที่ เกิดจากการเชื่อมโลหะ การหลอมโลหะ รังสีเหล่านี้มีอันตรายต่อร่างกายมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้มของรังสี โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังและเนื้อเยื่อตา

2.8 เครื่องจักรและอุปกรณ์

          เครื่องใช้ในการทำงานอาจก่อให้เกิดอันตราย บาดเจ็บหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ ถ้าหากสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ได้รับการดูแล เอา ใจใส่ จัดหาติดตั้งอย่างถูกวิธี มีการควบคุมดูแลปรับปรุงซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้ อย่างสม่ำเสมอ มีอุปกรณ์ป้องกันที่ครบถ้วน มีการตรวจสอบตลอดเวลา

2.9 ความสะอาดและการจัดระเบียบของสถานที่ทำงาน

          จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการวางแผนการจัดขอบเขตบริเวณให้เป็นสัดส่วนของพื้นที่การท างานอย่างเหมาะสม เป็นระเบียบและมีการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าหากขาดการดูแลเอาใจใส่ ดังกล่าว


3. อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environmental Hazards)

         สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ร่างกาย ต้องสัมผัสกับจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคต่างๆ ที่มีอยู่ในสถานประกอบการ ซึ่งอาจเกิดการ เจ็บป่วยขึ้นได้และมีผลต่อสุขภาพร่างกายของคนทำงาน ได้แก่ เชื้อแบคทรีเรีย (Bacteria) ปาราสิต (Parasite) และไวรัส (Virus) ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดโรคจากการทำงาน เช่น

วัณโรค (Tuberculosis) ที่มักเกิดขึ้นกับแพทย์ พยาบาล ที่ทำหน้าที่ในการให้ การรักษาดูแลผู้ป่วยโรคนี้

โรคติดเชื้อรา (fungus infection) มักเกิดกับผู้ที่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม และ อุตสาหกรรม ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ต้องหายใจเอาฝุ่นละอองที่มีเชื้อราติดเข้าไปใน ปอด โดยเชื้อราจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการแพ้ ทำให้เป็นโรคปอด หรือมักเรียกว่า โรคปอดชาวนา (Farmer’s Lung Disease)

โรคแอนแทรก (Anthrax) เป็นโรคที่เกิดจากการสัมผัสสัตว์ประเภทวัว ควาย ที่เป็น
โรคและเกิดการติดต่อกันขึ้น เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ สัตว์แพทย์ที่ทำหน้าที่ใน การดูแลรักษาสัตว์

โรคบรุคเซลโลซีส (Brucellosis) เกิดจากการบริโภคนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรือกระบวนการพาสเจอร์ไรด์ หรือสเตอริไรด์ ซึ่งมักเป็นกันมากกับคนแถบยุโรปและ อเมริกาที่มีการบริโภคนมเป็นประจำ  

4. อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม

             ซึ่งหมายถึง สภาพแวดล้อม ของการท างานที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาใน การทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บทบาทความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าในการ ทำงาน สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผู้ที่ทำงานเกิดความเครียดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ เช่น

4.1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Physical working conditions) ที่ทำให้ เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น การทำงานในที่ที่มีแสงสว่างมากหรือ น้อยเกินไป มีเสียงดังมากตลอดเวลา การทำงานซ้ำๆ หรือการประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ อยู่บนสายพานเลื่อนตลอดเวลา

 4.2 การทำงานหนักเกินไป (Overload) คืองานที่ได้รบมอบหมายให้ รับผิดชอบที่เกินความสามารถทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ


4.3 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Human interrelationship) สัมพันธภาพ ของบุคลากรในองค์กรหรือในที่ทำงานเดียวกัน ถ้าหากไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้ เกิดขึ้นได้ย่อมส่งผลกระทบทำให้เกิดความเครียดขึ้นได้

4.4 หน้าที่ความรับผิดชอบ (Job responsibility) ผู้ที่ทำงานในความรับผิดชอบสูง ของสถานประกอบการย่อมเกิดความวิตกกังวลและความเครียดได้มากกว่าคนอื่นๆ

4.5 บทบาทของแต่ละบุคคลในหน่วยงาน (Role of Individual in the Organization) อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันได้ทั้งในหน้าที่การงานและส่วนตัว ส่งผลกระทบถึงการเกิด ความเครียดตามมาได้

4.6 ความก้าวหน้าในตำแหน่ง (Career development) บุคลากรที่อุทิศตนใน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานอย่างเต็มความสามารถย่อมต้องการได้รับการสนับสนุน ให้ได้เลื่อนตำแหน่งที่เหมาะสมและสูงขึ้น แต่ถ้าหากไม่ได้รับการพิจารณาปรับเลื่อนก็ย่อม ส่งผลกระทบให้เกิดความเครียดขึ้นได้ซึ่งในระยะเวลานานๆ ไปอาจก่อให้เกิดปัญหา ทางด้านสุขภาพจิต (Mental health) และโรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคจิต โรคประสาท โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคติดยาเสพติด จนกระทั่งการฆ่าตัวตายได้






  
























1 ความคิดเห็น:

  1. Play the free demo for the Sega Genesis | Vimeo
    Play the free demo for the Sega Genesis from Vimeo, the home of high quality vip youtube to mp3 android videos. Discover short videos related to the project, plus related

    ตอบลบ