วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

"ต่อ 3" สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม


บทที่ 3
การประเมินความเสี่ยง
(RISK  ASSESSMENT)

หลักการ
                การประเมินความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่ระบุลำดับความเสี่ยงของอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของงานที่ครอบคลุมสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากร และขั้นตอนการทำงาน ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่าง ๆ รวมกัน ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงหลักการ และวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย รวมทั้งอธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องประเมินความเสี่ยงการประมาณระดับความเสี่ยงโดยคำนึงถึง  ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดอันตราย เพื่อนำมาพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ และการวางแผนควบคุมความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้


วัตถุประสงค์ของการประเมินความเสี่ยง
                เพื่อให้ทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ที่มีอยู่ทั้งหมดในบริษัท และจะได้ร่วมกันหามาตรการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่ ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสีย

คำจำกัดความ
การประเมินความเสี่ยง (Risk  Assessment)     หมายถึง             กระบวนการ การประมาณระดับความเสี่ยง และการตัดสิน ว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่
ความเสี่ยง (Risk)                                                      หมายถึง       ผลลัพธ์ของความน่าจะเกิดอันตราย และผลจากอันตรายนั้น (อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์)
การชี้บ่งอันตราย  (Hazard Identification)            หมายถึง       กระบวนการ ในการรับรู้ถึงอันตรายที่มีอยู่ และการกำหนดลักษณะของอันตราย
อันตราย (Hazard)                                                    หมายถึง       แหล่งหรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย ความเสียหายของทรัพย์สิน ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้รวมกัน
อุบัติเหตุ (Accident)                                                หมายถึง       เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีผลให้เกิดการเสียชีวิต ความเจ็บป่วย การบาดเจ็บ ความเสียหาย หรือความสูญเสียอื่น ๆ
ความเจ็บป่วยจากการทำงาน                                   หมายถึง       ความเจ็บป่วยที่ได้พิจารณาว่า มีสาเหตุจากกิจกรรม การทำงาน หรือสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน

การประเมินความเสี่ยง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนพื้นฐาน คือ

1.               การชี้บ่งอันตราย
2.               ประมาณค่าความเสี่ยงของอันตรายแต่ละอย่าง ความเป็นไปได้ และความรุนแรงของความเสียหาย
3.               ตัดสินว่าความเสี่ยงใดที่ยอมรับได้
                การประเมินที่ดำเนินไปโดยปราศจากการวางแผนที่ดี หรือประเมินด้วยความเชื่อว่าเป็นเรื่องยุ่งยากจะทำให้เสียเวลา และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ องค์กรไม่ควรยึดติดอยู่กับการประเมินในรายละเอียดมากเกินไป ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการ การประเมินความเสี่ยงจะให้ได้มาซึ่งแผนงาน เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปใช้เป็นมาตรฐานควบคุม
                ผู้ประเมินความเสี่ยงที่ยังขาดประสบการณ์อาจขาดความรอบคอบ  ปกติบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับงานมากเกินไปอาจจะมองข้ามอันตราย หรือตัดสินว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่สำคัญ เพราะเข้าใจว่า ไม่มีใครเคยได้รับอันตราย ควรจะให้ทุกคนประเมินความเสี่ยงด้วยมุมมองใหม่  ๆ และโดยการใช้คำถาม
                การประเมินความเสี่ยงควรดำเนินการโดยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งมีความรอบรู้ในกิจกรรมการดำเนินงานโดยเฉพาะมีการอบรมให้ความรู้ในการประเมินความเสี่ยงด้วย


กระบวนการประเมินความเสี่ยง
ขั้นตอนพื้นฐานของการประเมินความเสี่ยง


จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน


ชี้บ่งอันตราย


กำหนดความเสี่ยง


ตัดสินว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้หรือไม่


ทบทวนความเพียงพอของแผนปฏิบัติการ

                                                                                                




เตรียมแผนปฏิบัติการควบคุม
ความเสี่ยง (ถ้าจำเป็น)
รูปแสดงขั้นตอนพื้นฐานของการประเมินความเสี่ยง

การประเมินความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรควรจะดำเนินตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.               จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน
ให้เขียนชนิดของกิจกรรมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ และให้เขียนขั้นตอนปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม โดยให้ครอบคลุม สถานที่ทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากร รวมทั้งทำการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าว
2.               ชี้บ่งอันตราย
ชี้บ่งอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แต่ละกิจกรรมของงาน พิจารณาว่าใครจะได้รับอันตรายและจะได้รับอันตรายอย่างไร
3.               กำหนดความเสี่ยง
ประมาณความเสี่ยงจากอันตรายแต่ละอย่าง  โดยสมมุติว่ามีการควบคุมตามแผน หรือตามขั้นตอนการทำงานที่มีอยู่ ผู้ประเมินควรพิจารณาประสิทธิผลของการควบคุม และผลที่เกิดจากความล้มเหลวของการควบคุม
4.               ตัดสินว่าความเสี่ยงยอมรับได้หรือไม่
ตัดสินว่า แผนหรือการระวังป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีอยู่ (ถ้ามี) เพียงพอที่จะจัดการอันตรายให้อยู่ภายใต้การควบคุมและเป็นไปได้ตามข้อกำหนดตามกฎหมายหรือไม่
5.               เตรียมแนวปฏิบัติการควบคุมความเสี่ยง (ถ้าจำเป็น)
หากพบว่า ขั้นตอนปฏิบัติข้อใดมีความหละหลวม ไม่ถูกต้อง และต้องการปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดระดับหรืออันตราความเสี่ยงลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เตรียมแผนงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ที่พบในการประเมิน หรือที่ควรเอาใจใส่ องค์กรควรแน่ใจว่าการควบคุมที่จัดทำใหม่และที่มีอยู่มีการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิผล
6.               ทบทวนความเพียงพอของแผนปฏิบัติการ
ประเมินความเสี่ยงใหม่ด้วยวิธีการควบคุมที่ได้มีการปรับปรุง และตรวจสอบว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

ข้อกำหนดในการประเมินความเสี่ยง
1.               แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เพื่อส่งเสริมและจัดการกิจกรรมการประเมินความเสี่ยง
2.               ปรึกษากับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าควรวางแผนทำอะไร แล้วขอความคิดเห็นและคำมั่นสัญญา
3.               กำหนดความต้องการของการฝึกอบรม  การประเมินความเสี่ยงสำหรับบุคลากร หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ประเมินแล้วจัดให้มีโครงการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม
4.               ทบทวนความเพียงพอของการประเมิน ให้กำหนดว่ารายละเอียดความเข้มงวดของการประเมินเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่
5.               จัดทำเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการ และสาระสำคัญที่พบจากการประเมิน
การประเมินความเสี่ยงในทางปฏิบัติ
                กระบวนการประเมินความเสี่ยงนี้  จะครอบคลุมอันตรายของระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งหมดเป็นการที่จะรวบรวมการประเมินความเสี่ยงทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน  ไม่ควรแยกแผนการประเมินอันตรายเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การเคลื่อนย้าย การขนส่งวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน อันตรายจากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์อื่น ๆ ถ้าเราแยกการประเมินออกเป็นเรื่อง ๆ โดยใช้วิธีการที่แตกต่าง การจัดลำดับความสำคัญของการควบคุมความเสี่ยงจะทำได้ยากขึ้น
หัวข้อประเมินความเสี่ยงต่อไปนี้ที่จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบตั้งแต่เริ่มแรก
1.               การกำหนดรูปแบบง่าย ๆ สำหรับใช้ในการประเมินความเสี่ยง
2.               เกณฑ์ของการแบ่งกิจกรรมของงาน และข้อมูลที่จำเป็นของแต่ละกิจกรรม
3.               วิธีการชี้บ่งและการจัดลำดับความรุนแรงของอันตราย
4.               ขั้นตอนการกำหนดความเสี่ยง
5.               คำอธิบายการประมาณระดับความเสี่ยง
6.               เกณฑ์การตัดสินว่า ความเสี่ยงนี้ยอมรับได้หรือไม่ และมาตรการที่วางแผนไว้หรือที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่
7.               กำหนดช่วงเวลาในการปรับปรุงแก้ไขตามความจำเป็น
8.               วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมความเสี่ยง
9.               เกณฑ์ของการทบทวนความเพียงพอของแผนงาน

รูปแบบการประเมินความเสี่ยง (Risk  Assessment Pro-Forma)
                องค์กรควรมีการเตรียมรูปแบบง่าย ๆ ที่สามารถใช้เพื่อการบันทึกสิ่งที่ค้นพบจากการประเมินโดยทั่วไป จะครอบคลุมถึง
1.               กิจกรรมของงาน (Work Activity)
2.               อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น (Hazards)
3.               มาตรการควบคุมที่มีอยู่ (Control in place)
4.               บุคคลที่มีโอกาสเสี่ยง (Personnel at risk)
5.               สิ่งที่น่าจะก่อให้เกิดอันตราย (ความเป็นไปได้ในการเกิดอันตรายนั้นมีมากน้อยเพียงใด)
6.               ความรุนแรงของอันตราย
7.               ระดับความเสี่ยง
8.               สิ่งที่ต้องการทำภายหลังการประเมิน
9.               รายละเอียดทั่วไป เช่น ชื่อผู้ประเมิน วันที่ประเมิน ฯลฯ

 องค์กรควรจะมีการพัฒนาทุกขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง และทบทวนระบบอย่างต่อเนื่อง
1.              จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน (Classify work activities)

จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน


ขั้นตอนเริ่มต้นที่จำเป็นของการประเมินความเสี่ยง คือ การทำรายงานกิจกรรม เพื่อแบ่งกลุ่มอย่างเหมาะสม และสามารถบริหารข้อมูลนั้นได้ วิธีการแบ่งแยกประเภทกิจกรรมให้พิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
1.               ลักษณะภูมิประเทศภายใน หรือภายนอกสถานที่ทำงาน
2.               ขั้นตอนในกระบวนการผลิต หรือการให้บริการ
3.               แผนงานและผลของงาน
4.               กำหนดภารกิจ เช่น การประกอบรถจักรยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
ข้อมูลที่จำเป็นของกิจกรรมของงาน
ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับแต่ละกิจกรรม ควรจะครอบคุลมกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.               งานที่ปฏิบัติ ระยะเวลาที่ปฏิบัติ และความถี่ของการปฏิบัติ
2.               สถานที่ปฏิบัติงาน
3.               ผู้รับผิดชอบทั้งในเวลาปกติ หรือปฏิบัติเป็นครั้งคราว
4.               บุคคลอื่นที่อาจจะได้รับผลกระทบจากงาน เช่น ผู้ที่มาเยี่ยมชมโรงงาน ผู้รับเหมา ผู้ผลิตชิ้นส่วน บุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อกับบริษัท ฯลฯ
5.               การฝึกอบรมพนักงานที่ปฏิบัติงาน
6.               ขั้นตอนการปฏิบัติงานมีเขียนไว้หรือไม่สำหรับงานนั้น ๆ
7.               อาคารสถานที่ และเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีการใช้งาน
8.               เครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้มีอะไรบ้าง
9.               คู่มือการใช้งาน และการบำรุงรักษา ตามคำแนะนำของผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายสำหรับอาคารสถานที่เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือทุ่นแรง
10.         ขนาดรูปร่าง ลักษณะพื้นผิว และน้ำหนักของวัตถุที่ทำการเคลื่อนย้าย
11.         ระยะทางและความสูงที่ทำการเคลื่อนย้ายวัตถุด้วยมือ
12.         การบริการต่าง ๆ ที่ใช้ เช่น เก็บขยะ การเติมน้ำยาดับเพลิง เป็นต้น
13.         สารที่ใช้หรือที่เกี่ยวข้องในการทำงาน
14.         ลักษณะทางกายภาพของสารที่ใช้ หรือที่เกี่ยวข้อง เช่น ควัน ก๊าซ ไอ ของเหลว ฝุ่น/ผง ของแข็ง เป็นต้น
15.         รายละเอียดและเอกสารแนะนำ ถึงอันตรายที่เกิดจากสารที่ใช้หรือที่เกี่ยวข้อง
16.         ข้อกำหนดตามกฎหมาย ข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาคารสถานที่และเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ และสารที่ใช้หรือที่เกี่ยวข้อง
17.         มาตรการควบคุมที่มีอยู่
18.      ข้อมูลที่ได้จากการตรวจติดตาม ตรวจสอบ ประสบการณ์จากอุบัติการณ์  อุบัติเหตุและความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ และสารที่ใช้ ซึ่งเป็นข้อมูลทั้งจากภายใน และภายนอก
19.         ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ ซึ่งสัมพันธ์กับกิจกรรมของงาน

2.  การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification)

จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน


ชี้บ่งอันตราย



การชี้บ่งอันตรายควรพิจารณาจากคำถาม 3 ข้อ ดังนี้
1.               มีแหล่งกำเนิดของอันตรายหรือไม่
2.               ใคร หรืออะไร ที่ได้รับอันตราย
3.               อันตรายจะเกิดขึ้นอย่างไร
อันตรายที่ไม่ปรากฏผลเด่นชัด หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายน้อยมาก ไม่จำเป็นต้องเขียนขั้นตอนปฏิบัติเป็นเอกสาร หรือจำต้องดำเนินการอะไรต่อไป

การแบ่งแยกประเภทของอันตรายอย่างกว้าง ๆ

เพื่อช่วยในการบ่งชี้อันตราย ควรแบ่งแยกประเภทของอันตรายในลักษณะต่าง ๆ เช่น อาจแบ่งตามหัวข้อดังนี้

1.  เครื่องจักรกล                            อันตรายจากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ปั้นจั่น หม้อน้ำ
2.  ไฟฟ้า                                         อันตรายจากกระแสไฟฟ้า เครื่องใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้า
3.  รังสี                                            อันตรายจากสารที่มีกัมมันตภาพรังสี
4.  สารเคมี                                      อันตรายจากสารเคมีอันตราย วัตถุอันตราย หรือสารเคมีอื่น ๆ
5.  อัคคีภัย และการระเบิด            อันตรายจากไฟไหม้ แก๊ส  LPG ระเบิด , สารเคมีและวัตถุอันตราย ระเบิด
                                                        อันตรายจากธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว
6.  อื่น ๆ ได้แก่                               อันตรายจากมละภาวะต่าง ๆ เช่น อากาศเป็นพิษ ระดับเสียงเกินกว่าที่กำหนด แสงสว่างต่ำกว่าหรือเกินมาตรฐาน
                                                        อันตรายจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยและสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ การหยอกล้อเล่นกันในขณะทำงาน , การฝ่าฝืนกฎระเบียบความปลอดภัย, มีคราบน้ำมันบนพื้น , การใช้ยานพาหนะที่ชำรุดเสียหาย
                                                        อันตรายจากที่สูง







รายการอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
อันตรายที่เกิดจากการทำงานโดยทั่ว  ๆ ไป จะมีดังต่อไปนี้
1.               การลื่นหกล้ม เช่น มีน้ำมัน/น้ำนองพื้น ทำให้ลื่นหกล้ม , การสะดุดหกล้มพื้นต่างระดับ หรือสะดุดหกล้ม  เนื่องจากมีวัตถุสิ่งของกีดขวาง เป็นต้น
2.               การตกจากที่สูง
3.               การตกหล่นของเครื่องมือ วัตถุ อุปกรณ์ ฯลฯ จากที่สูง เช่น ประแจ ไขควงหล่นตกในขณะซ่อมท่อด้านบนหลังคา เป็นต้น
4.               บริเวณที่ว่างเหนือศีรษะไม่เพียงพอ
5.               อันตรายที่เกิดจากการยก/หยิบจับ เครื่องมือ วัตถุดิบ ฯลฯ ได้แก่ สิ่งของตกหล่นกระแทกเท้า หยิบอะไหล่ ที่มีความคมทำให้ถูกบาด
6.               อันตรายจากอาคารสถานที่  และเครื่องจักรอุปกรณ์ ขณะทำการประกอบ การนำมาใช้งาน การปฏิบัติงาน การบำรุงรักษา การปรับเปลี่ยน การซ่อมแซมและการรื้อถอน
7.               อันตรายจากยานพาหนะ ทั้งในการขนส่งภายใน และภายนอกหน่วยงาน ได้แก่ การเข็นรถใส่ชิ้นงาน 2 คัน ทำให้กระแทกนิ้วมือ , อันตรายจากการขับรถ Fork Lift เป็นต้น
8.               การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด เช่น การเกิดไฟไหม้ในจุดที่มีการใช้วัตถุไวไฟ จุดที่มีการพ่นสี ผสมสี ห้องสต๊อกสี    ทินเนอร์ บริเวณเก็บถังแก๊สไวไฟ และ LPG เป็นต้น
9.               เหตุการณ์หรือสถานการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นกับพนักงาน
10.         สารที่อาจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอระเหยของสารเคมี เช่น สี ทินเนอร์ น้ำยา Coolant ฟูม ควัน ไอจากการเชื่อมโลหะ ฝุ่นเหล็กจากการขัดเจียร เป็นต้น
11.         สารเคมีหรือวัตถุที่อาจทำอันตรายต่อนัยน์ตา  ได้แก่  สารเคมีกระเด็น เศษเหล็กจากการเจียร ตัด กระเด็นเข้าตา
12.         สารที่อาจจะทำให้เกิดอันตราย เมื่อมีการสัมผัส หรืออาจจะถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง ได้แก่ สี ทินเนอร์ น้ำยา  Coolantน้ำมัน เป็นต้น
13.         สารที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายจากการกลืนกินเข้าไป ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง , สี ทินเนอร์ , น้ำยา Coolant กรด, ด่าง , น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น
14.         พลังงานที่เป็นอันตราย เช่น ไฟฟ้า รังสี เสียง ความสั่นสะเทือน ได้แก่ ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต เสียงดังจากเครื่องจักรและในสถานที่ทำงานที่เกินค่ามาตรฐานกำหนด  ความสั่นสะเทือนจากการใช้เครื่องเจาะ เป็นต้น
15.         อาการความผิดปกติ ของมือ และแขน เนื่องจากการทำงาน ที่เป็นผลมาจากงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน เช่น การพิมพ์งานโดยใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ การประกอบชิ้นส่วนในจุดเดิม เป็นต้น
16.         อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ร้อนเกินไป เย็นเกินไป เป็นต้น
17.         ระดับของแสงสว่าง เช่น แสงสว่างเกินไป หรือน้อยเกินไป ไม่ตรงตามที่มาตรฐานกำหนด
18.         การลื่น การสะดุดพื้นผิวที่ไม่เรียบ
19.         มีราวกั้น หรือราวบันไดไม่เพียงพอ
20.         การปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ผู้รับเหมา ผู้ผลิตชิ้นส่วน
รายการที่แสดงไว้ข้างต้น  องค์กรควรที่จัดทำรายการอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการพิจารณา ตามลักษณะของงาน และสถานที่ที่ทำงานนั้น


3.  การกำหนดความเสี่ยง  (Determine risk)

จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน

ชี้บ่งอันตราย

กำหนดความเสี่ยง



ความเสี่ยงจากอันตราย ควรพิจารณาจาก
1.               การประมาณความรุนแรงของการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย
2.               ความเป็นไปได้ของการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้น

1.               ความรุนแรงของการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย
ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับจากกิจกรรมการทำงาน  เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่จะต้องนำไปใช้ในการประเมินความเสี่ยง เมื่อต้องการประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วย ควรพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
                1.  ส่วนของร่างกายที่ได้รับผลกระทบ
                2.  ลักษณะของการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย โดยเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก
                     ก.  การบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยเล็กน้อย
                                -  การบาดเจ็บ/เจ็บป่วย เล็กน้อย ขั้นปฐมพยาบาล (ไม่ถึงขั้นหยุดงาน)
                                -  ทรัพย์สินเสียหายเล็กน้อย มีมูลค่าไม่เกิน 5,000 บาท
                     ข.  การบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยระดับปานกลาง เช่น
                                -  การบาดเจ็บ/ เจ็บป่วยถึงขั้นหยุดงาน แต่ไม่ถึงขั้นพิการ ทุพพลภาพ
                                -  ทรัพย์สินเสียหายมากกว่า 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
                     ค.  การบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยรุนแรง
                                -  การบาดเจ็บ / เจ็บป่วยถึงขั้นหยุดงานพิการ สูญเสียอวัยวะ และเสียชีวิต
                                -  ทรัพย์สินเสียหายมีมูลค่ามากกว่า 100,000 บาท

2.               สิ่งที่น่าจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย (ความเป็นไปได้ของการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้น)
        เมื่อทำการค้นหาสิ่งที่น่าจะทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย ต้องมีการพิจารณาความเพียงพอของมาตรการควบคุมที่ได้นำไปใช้ และรวบรวมขึ้น ข้อกำหนดตามกฎหมายและหลักปฏิบัติที่เหมาะสม
        ข้อมูลพื้นฐานที่ควรจะนำมาพิจารณาเพิ่มเข้าไปในข้อมูลกิจกรรมของงาน ได้แก่
1.               จำนวนพนักงานที่อยู่ในความเสี่ยงนั้น
2.               ความถี่และช่วงระยะเวลาที่สัมผัสอันตราย
3.               ความบกพร่องของการให้บริการต่าง ๆ เช่น  ระบบไฟฟ้า น้ำประปา ระบบ Air  Supply การจ่ายลม เป็นต้น

4.               ความบกพร่องของส่วนประกอบของอาคารสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ และอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉินทำงานผิดพลาด อุปกรณ์ความปลอดภัยของเครื่องจักรชำรุด เป็นต้น
5.               การสัมผัสกับสิ่งที่มีอันตราย
6.               ประสิทธิภาพและความเพียงพอของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และอัตราการใช้ของอุปกรณ์เหล่านั้น
7.               การกระทำที่ไม่ปลอดภัย การชอบเสี่ยง และการจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบและขั้นตอนการทำงาน เช่น
ก.       ไม่รู้ว่าอะไรคือ ความเสี่ยงและอันตราย
ข.       ขาดความรู้ สภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวย หรือขาดความชำนาญในงานที่ทำ
ค.       ประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าความเป็นจริง
ง.        ประมาณวิธีการทำงานและสิ่งอำนวยความปลอดภัยไว้ต่ำเกินไป
                ความเสี่ยงที่กล่าวมาแล้วนั้น ต้องคำนึงถึงจำนวนพนักงาน และจำนวนบุคคลอื่น ๆ ด้วย เช่น ผู้รับเหมา ผู้ผลิตชิ้นส่วน ถ้ามีจำนวนคนมากขึ้น ความเสี่ยงก็ย่อมมากขึ้น แต่ในมุมกลับกัน งานที่มีความเสี่ยงสูงในตัวมันเอง โดยที่มีคน ๆ เดียวทำงานนั้นก็ย่อมเป็นไปได้

4.  การประมาณความเสี่ยง (การตัดสินว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้หรือไม่)


ตัดสินว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้หรือไม่
จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน

ชี้บ่งอันตราย

กำหนดความเสี่ยง





ตารางที่ 1  แสดงวิธีการประมาณระดับความเสี่ยงอย่างง่าย ๆ และสำหรับตัดสินว่าความเสี่ยงนั้นยอมรับได้หรือไม่ความเสี่ยงจะถูกพิจารณาจากการประมาณโอกาสที่จะเกิดและความรุนแรงของความเสียหาย

ตารางที่ 1                การประมาณความเสี่ยงอย่างง่าย ๆ

โอกาสที่จะเกิด
ระดับความรุนแรงของอันตราย
อันตรายเล็กน้อย
อันตรายปานกลาง
อันตรายร้ายแรง
ไม่น่าจะเกิด (น้อย)
ความเสี่ยงเล็กน้อย
ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ความเสี่ยงปานกลาง
เกิดขึ้นได้ยาก (ปานกลาง)
ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ความเสี่ยงปานกลาง
ความเสี่ยงสูง
มีโอกาสที่จะเกิด (มาก)
ความเสี่ยงปานกลาง
ความเสี่ยงสูง
ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้

ยอมรับได้ หมายถึง ความเสี่ยงที่ถูกลดลงจนอยู่ในระดับต่ำสุด เท่าที่สามารถปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล
5.  การเตรียมแผนปฏิบัติการควบคุมความเสี่ยง

จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน

ชี้บ่งอันตราย

กำหนดความเสี่ยง

ตัดสินว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้หรือไม่


เตรียมแผนปฏิบัติการควบคุม
ความเสี่ยง (ถ้าจำเป็น)




ตารางที่ 2  แผนงานการควบคุมตามระดับความเสี่ยงอย่างง่าย ๆ

ระดับความเสี่ยง
การปฏิบัติและเวลาที่ใช้
เล็กน้อย
(Trivial)
ไม่ต้องทำอะไร และไม่จำเป็นต้องมีการเก็บบันทึกเป็นเอกสาร
ยอมรับได้
(Tolerable)
ไม่ต้องมีการควบคุมเพิ่มเติม  การพิจารณาความเสี่ยงอาจจะทำเมื่อเห็นว่าคุ้มค่า หรือการปรับปรุงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น  อาจจะทำการควบคุมมากขึ้นเป็นพิเศษก็ได้ ถ้าต้องการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานมากขึ้น การติดตามตรวจสอบยังคงต้องทำ เพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมยังคงมีอยู่
ปานกลาง
(Moderate)
จะต้องใช้ความพยายามที่จะลดความเสี่ยง แต่ค่าใช้จ่ายของการป้องกัน  ควรจะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และมีการจำกัดงบประมาณ  จะต้องมีมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงภายในเวลาที่กำหนด  เมื่อความเสี่ยงระดับปานกลางมีความสัมพันธ์กับการเกิดความเสียหายร้ายแรง   ควรทำการประเมินเพิ่มเติมเพื่อหาค่าของความน่าจะเป็นของความเสียหายที่แม่นยำขึ้น  เพื่อเป็นหลักในการตัดสินความจำเป็นสำหรับมาตรการควบคุมว่าต้องมีการปรับปรุง หรือไม่
สูง
(Substantial)
ต้องลดความเสี่ยงลงก่อนจึงเริ่มทำงานได้ ต้องจัดสรรทรัพยากร และมาตรการให้เพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงนั้น  เมื่อความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับงานที่กำลังทำอยู่จะต้องทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ไม่อาจยอมรับได้
(Intolerable)
งานจะเริ่มหรือทำต่อไปไม่ได้ จนกว่าจะลดความเสี่ยงลง ถ้าไม่สามารถลดความเสี่ยงได้ ถึงแม้จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม จะต้องหยุดการทำงานนั้น

ผลที่ได้จากการประเมินความเสี่ยง ควรนำไปใช้ในการปรับปรุงหรือควบคุมการทำงาน


        การควบคุมอันตรายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การควบคุมที่แหล่งกำเนิดอันตรายนั้น ๆ ซึ่งควรดำเนินการเป็นลำดับแรก  แต่หากไม่สามารถปฏิบัติได้หรือยังมีความเสี่ยงอยู่  ควรพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมที่ทางผ่านระหว่างแหล่งกำเนิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน แล้วจึงพิจารณามาตรการควบคุมที่ผู้ปฏิบัติงาน

        ในการกำหนดมาตรการควบคุม ควรพิจารณาเลือกประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้
1.               ถ้าเป็นไปได้ให้กำจัดอันตรายหลายประเภทไปพร้อม  ๆ กัน หรือลดความเสี่ยงที่แหล่งกำเนิด เช่น การใช้สารเคมีที่ปลอดภัยกว่าสารเคมีที่ใช้อยู่ เป็นต้น
2.               ถ้ากำจัดตามข้อ 1 ไม่ได้ ให้พยายามลดความเสี่ยงลง เช่น การติดตั้งระบบระบายอากาศ (Hood) ในงานเชื่อมโลหะ เป็นต้น
3.               ถ้าเป็นไปได้ ให้ปรับหรือกำหนดงานให้เหมาะสมกับสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น การทำงานกับเครื่องจักร ต้องจัดคนให้มีความสูงพอดีกับเครื่องจักรเพื่อให้ทำงานได้สะดวกเหมาะสม
4.               พิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าให้เกิดประโยชน์ต่อการปรับปรุงเพื่อการควบคุมอันตราย เช่น การใช้ปั๊มดูดสารเคมีอันตรายเข้าไปใช้ในกระบวนการผลิตแทนการใช้คนเติมสารเคมีโดยตรง เป็นต้น
5.               พิจารณาเลือกมาตรการป้องกันที่สามารถคุ้มครองได้ทุกคน
6.               ใช้เทคนิคควบคุมอันตรายควบคู่กับกำหนดวิธีการควบคุมการปฏิบัติงาน
7.               กำหนดให้มีการวางแผนการบำรุงรักษา เช่น การบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร การบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น
8.               ถ้าไม่สามารถควบคุมตามมาตรการข้างต้น ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเป็นทางเลือกสุดท้าย
9.               กำหนดมาตรการการเตรียมความพร้อมกรณีเกิดภาวะฉุกเฉิน
10.         กำหนดตัวชี้การวัดผลเชิงรุก เพื่อติดตามตรวจสอบว่า มีการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ควรมีการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดทำแผนฉุกเฉิน และการอพยพพนักงาน ซึ่งรวมถึงการจัดหาอุปกรณ์ สำหรับเหตุฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับอันตรายที่มีอยู่ในหน่วยงาน

 6.  ทบทวนความเพียงพอของแผนปฏิบัติการ


จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน

ชี้บ่งอันตราย

กำหนดความเสี่ยง

ตัดสินว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้
หรือไม่

เตรียมแผนปฏิบัติการควบคุม
ความเสี่ยง (ถ้าจำเป็น)


ทบทวนความเพียงพอ
ของแผนปฏิบัติการ

ควรมีการทบทวนแผนปฏิบัติการก่อนนำไปใช้งานจริง โดยการตอบคำถามต่อไปนี้
1.               เมื่อมีการปรับปรุงแล้ว ระดับความเสี่ยงลดลงจนยอมรับได้หรือไม่
2.               ผลจากการปรับปรุงตามข้อ 1 ก่อให้เกิดอันตรายขึ้นใหม่หรือไม่
3.               ได้เลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่คุ้มค่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่
4.               มาตรการควบคุมที่ใช้นั้นเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน และสามารถนำไปปฏิบัติได้หรือไม่
5.               จะมีการนำมาตรการนี้ไปใช้ และจะไม่ถูกละเลยเมื่อเผชิญหน้ากับภาวะต่างๆ หรือไม่ ถ้ามีงานเร่งด่วนอาจจะละเลยมาตรการที่ต้องปฏิบัตินั้น เป็นต้น

 การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และการจัดทำใหม่
        การประเมินความเสี่ยงควรเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้น การจัดความเพียงพอของมาตรการควบคุมควรมีการทบทวนอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงใหม่ตามความจำเป็น ในทำนองเดียวกันถ้าสภาพการเปลี่ยนไป และทำให้อันตราย และความเสี่ยงเปลี่ยนไปด้วย ควรทบทวนการประเมินความเสี่ยงใหม่

3.1 การวางแผนที่ดี
                
การวางแผนงานด้านความปลอดภัยที่ดีเป็นแนวทางที่จะช่วยการปฏิบัติให้สำเร็จได้โดยง่าย การวางแผนงานนี้ ควรประกอบด้วย

1. การวางวัตถุประสงค์ของแผนงานด้านความปลอดภัย

2. การจัดคณะกรรมการความปลอดภัยและอนามัยอุตสาหกรรม (SAFETY AND HEALTH COMMITTEE)

3. การวางแผนงานละเอียดของโครงการความปลอดภัย

4. วิธีดำเนินการด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามแผน

5. การเปลี่ยนแปลงทัศนคติด้านความปลอดภัยและการฝึกอบรม

1. การวางวัตถุประสงค์ของแผนงานด้านความปลอดภัย
            
           ก่อนที่จะวางวัตถุประสงค์ของแผนงานด้านความปลอดภัย ควรทบทวนดูว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นมีนโยบายด้านความปลอดภัยหรือยัง ถ้ามีแล้วนโยบายนั้นถูกต้องและครอบคลุมถึงปรัชญาด้านความปลอดภัยทั้งหมดหรือไม่ ในกรณีที่ยังไม่มีควรจะกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยเมื่อไร ผู้ที่จะกำหนดนโยบายนั้นควรจะเป็นฝ่าย TOP MANAGEMENT

ตัวอย่างนโยบายด้านความปลอดภัย

- ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับมีความสำคัญสูงสุด

- ส่งเสริมให้มีการป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงานเพื่อลดอุบัติเหตุ และความเจ็บป่วยของผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งลดความสูญเสียทางด้านทรัพย์สิน

–  มีเจตจำนงในการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยให้สอดคล้อง (หรือเป็นไปตาม) กฎหมายโรงงานและแรงงาน

-  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัย และให้ถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานทุกๆ คน

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทุกคนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานเป็นอันดับแรก

- มีนโยบายที่จะจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย

การวางวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับนโบายที่ตั้งไว้

      การวางวัตถุประสงค์นี้อาจกระทำได้เป็นช่วงๆ หรือมีการเปลี่ยนแปลงปีต่อปี ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์หลายๆ อย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร การเพิ่มหรือลดปริมาณคนงาน อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์นั้นอาจจะทำเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะของโครงการย่อยก็ได้   ในบางแห่งอาจจะกำหนดวัตถุประสงค์ให้เป็นแบบเป้าหมายหรือการปฏิบัติให้ เป็นไปตามนโยบายหรือวิธีการดำเนินการหรือความรับผิดชอบของผู้บริหารตามนโยบายที่กำหนดไว้ จะเห็นได้ว่าการวางวัตถุประสงค์หรือเป้าประสงค์นั้นจะต้องมีความสอดคล้องให้เป็นไปตามนโยบายด้วย

ตัวอย่างวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย

- จัดให้มีคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยในระดับต่างๆ

- ให้มีการกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยแต่ละระดับ
–  จัดงบประมาณในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ส่งเสริม ควบคุมและป้องกันด้านความปลอดภัย

- ให้ทุกหน่วยงานทำหน้าที่ประสานงานกับคณะกรรมการความปลอดภัย

–  จัดให้มีคู่มือความปลอดภัยเฉพาะงาน กำหนดวิธีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามกฎหมาย

–  จัดให้มีการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินตามความเหมาะสม

–  จัดให้มีการวิเคราะห์และสอบสวนอุบัติเหตุและโรคที่เกิดจากการทำงาน

–  พิจารณาจัดสรรงบประมาณพิเศษสำหรับโครงการควบคุมความปลอดภัย

ให้มีการประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริม และศึกษาค้นคว้าวิทยาการใหม่ๆ ด้านการควบคุมความปลอดภัย

เสริมสร้างทัศนคติด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับเป็นประจำ


 2. การจัดคณะกรรมการความปลอดภัยและอนามัยอุตสาหกรรม

                   ในการจัดคณะกรรมการด้านความปลอดภัยและอนามัยอุตสาหกรรมนั้น จำเป็นจะต้องมีบุคคลหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายบริหาร หัวหน้าหน่วยงานด้านความปลอดภัย (SAFETY DIRECTOR) ผู้ควบคุมงาน (SUPERVISOR OR FOREMAN) สหภาพแรงงาน (LABOR UNION) คนงาน (EMPLOYEE) หน่วยการแพทย์ (MEDICAL UNIT) หน่วยซ่อมบำรุง (MAINTENANCE UNIT) เมื่อจัดคณะกรรมการความปลอดภัยและอนามัยอุตสาหกรรมได้แล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละฝ่าย
A. ผู้บริหาร ควรมีบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. รับผิดชอบในความปลอดภัยของพนักงานทุกคน

2. กำหนดให้พนักงานระดับจัดการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในความปลอดภัยของพนักงานทุกคน

3. จัดสรรงบประมาณที่จำเป็นในการดำเนินการด้านความปลอดภัย

4. รับทราบและสั่งการให้เป็นไปตามนโยบายความปลอดภัยที่คณะกรรมการความปลอดภัย และฝ่ายอื่นกำหนดขึ้น

5. มีส่วนร่วมในโครงการที่คณะกรรมการความปลอดภัยและพนักงานระดับจัดการอื่นๆ เสนอมา

B. หัวหน้าหน่วยงานด้านความปลอดภัย ควรมีบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. บริการให้คำแนะนำแก่สายงานแต่ไม่มีหน้าที่สั่งงานโดยตรง

2. ประสานงานกิจการด้านความปลอดภัย

3. เก็บข้อมูลและวิเคราะห์หาสาเหตุของอุบัติเหตุ

4. จัดทำแผนการฝึกอบรมให้แก่หัวหน้างาน

5. จัดกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้น(และธำรงไว้ซึ่งความสนใจของพนักงาน)ในเรื่องความปลอดภัย

6. พัฒนาโครงการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงานทุกคน

7. ให้บริการต่อคณะกรรมการความปลอดภัย (โดยทั่วไปจะมีฐานะเป็นกรรมการและเลขานุการของที่ประชุม)

8. แนะนำและควบคุมการสอบสวนอุบัติเหตุพร้อมทั้งสรุปผล

9. วางแผนและแนะนำการตรวจสอบความปลอดภัย

10. ศึกษากฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยเพื่อการปฏิบัติให้เป็นตามกฎหมายนั้น

11. ออกข่าวสารแสดงผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและแนวโน้มของอุบัติเหตุ

C. ผู้ควบคุมงาน ควรมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้

1. ตรวจสอบกฎระเบียบข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยก่อนนำไปใช้ในทางปฏิบัติ

2. อบรมพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างปลอดภัย

3. รับผิดชอบความปลอดภัยของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน

4. รับผิดชอบให้สถานที่ทำงานอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เหมาะสม มีการจัดกองวัสดุอย่างปลอดภัย รวมทั้ง ข้อบังคับให้พนักงานสวมใส่เครื่องป้องกันอันตรายต่างๆ

5. รับผิดชอบให้ผู้บาดเจ็บได้รับการปฐมพยาบาลหรือช่วยเหลืออย่างถูกต้อง ในทันทีที่ประสบอันตราย

6. รายงานและไต่สวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้ง พร้อมทั้งหาทางแก้ไข

7. ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัย

8. จัดให้มีการพบปะสนทนาเป็นกลุ่มในเรื่องความปลอดภัย

9. หาโอกาสสนทนาเรื่องความปลอดภัยกับพนักงานแต่ละคน โดยทั่วหน้ากัน

D. สหภาพแรงงาน ควรมีบทบาทและ หน้าที่ดังต่อไปนี้

1. พัฒนาทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยของพนักงาน

2. ปรับปรุงแก้ไขวิธีปฏิบัติงานให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น

3. ให้ข้อเสนอแนะเพื่อขจัดสิ่งที่ล่อแหลมต่ออันตราย

4. ให้ความร่วมมือในการจัดฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยแก่พนักงาน

5. ช่วยให้โครงการความปลอดภัยในหน่วยงานของตนสำเร็จลุล่วงไป

6. ช่วยแนะนำให้พนักงานเกิดความเต็มใจที่จะปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยตามระเบียบข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้

E. คนงาน ควรมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้

1. ทำงานตามวิธีปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยที่ได้กำหนดไว้

2. รายงานสภาพการทำงานและวิธีปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย

3. เอาใจใส่สนใจ

4. ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการความปลอดภัย

5. เสนอแนะข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัย

6. ไม่เสี่ยงต่องานที่ยังไม่เข้าใจหรือไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย

F. หน่วยการแพทย์ ควรมีบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. รับผิดชอบด้านการป้องกันโรคที่เกิดเนื่องจากการทำงาน

2. ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับมีสุขภาพกายและจิตที่สมบูรณ์

3. บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

4. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติงาน

5. ประสานงานกับหน่วยซ่อมบำรุงในการควบคุมสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย

6. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพิษวิทยาและอันตรายจากการทำงานอื่นๆ

7. ติดต่อประสานงานกับทางโรงพยาบาลเพื่อให้การบริการด้านรักษาพยาบาล

8. ส่งเสริมด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่คนงานที่ได้รับอุบัติเหตุจนถึงพิการ

9. จัดให้มีการตรวจสมรรถภาพของคนงานก่อนเข้าทำงาน และตรวจเป็นระยะๆ

G. หน่วยซ่อมบำรุง ควรมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้

1. ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย และหัวหน้างาน

2. ปฏิบัติงานตามใบสั่งงานที่ได้รับอนุมัติแล้วโดยรีบด่วน

3. ร่วมมือในการออกแบบและจัดทำเครื่องป้องกันอันตรายต่างๆ

4. ติดตามการซ่อมบำรุงให้เป็นไปตามแผนการที่ได้วางไว้ เพื่อความปลอดภัยและเก็บบันทึกรายงานการซ่อมบำรุงไว้

5. ดำเนินการตรวจสอบเป็นประจำตามแผนงานที่คณะกรรมการความปลอดภัยได้แนะนำมา แล้วเขียนรายงานทำบันทึกไว้

3. การวางแผนงานละเอียดของโครงการความปลอดภัย

แผนงานละเอียดที่จะช่วยลดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับการศึกษาตระหนักถึงและการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อุบัติเหตุและโรคๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว (ไม่ว่าจะเป็นใน โรงงานหรือนอกโรงงาน) ย่อมเป็นแม่บทที่จะด้นำไปสู่การป้องกันควบคุมสำหรับการเกิดอุบัติเหตุนั้น ควรรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ

-สาเหตุของการเกิดอุบัติ

-ชนิดของอุบัติเหตุ

-สถานที่เกิดอุบัติเหตุ

-การประเมินการบาดเจ็บในรูปของตัวเลข เช่น Injury Frequency Rate, Severity Rate, Disability & Injury Indices เป็นต้น

-การสูญเสียเงินค่าทดแทน

-วิธีการที่จะแก้ไขอุบัติเหตุ
สำหรับโรคที่เกิดเนื่องจากการทำงาน ควรรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ

- Epidemioloyical Data

-Evidence of Disease

-Evidence of Exposure

-การสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายและการพิการ

-วิธีการควบคุมป้องกันโรคต่างๆ

             หลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูลและตระหนักถึงปัญหาที่ได้เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังที่จะเกิดขึ้น คณะกรรมการความปลอดภัยควรจะเข้าร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินการ และจัด อันดับความสำคัญของปัญหา เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการแก้ไขต่อไป


 การจัดอันดับความสำคัญของปัญหา ควรยึดหลักดังนี้

1. พิจารณาขนาดของปัญหา อาจดูจากสภาพแวดล้อมของการทำงาน ว่ามีมาตรฐานเกินขีดความปลอดภัยไหม จำนวนคนงานที่อาจได้รับอันตรายการระบาดวิทยาของโรคกะและช่วงเวลาของ
การทำงานโอกาสที่จะเกิดขึ้น เป็นต้น

2. พิจารณาความรุนแรงของปัญหา โดยคิดถึงตัวบุคคลเป็นหลัก อุบัติเหตุหรือโรคจากการทำงาน ทำให้ต้องสูญเสียเวลาการทำงานมากแค่ไหน พิษวิทยาของสารเป็นพิษการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานของร่างกายการพิการหรือโอกาสที่จะพิการ

3. พิจารณาถึงความร่วมมือของคนงาน ทัศนคติต่อการปฏิบัติงานทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัย,ทัศนคติต่อหัวหน้าหรือนายจ้างฯ การให้ความร่วมมือปฏิบัติการความรู้
และพื้นฐานของคนงาน

4. พิจารณาถึงความยากง่ายในการแก้ไขปัญหาโดย พิจารณาจากหลัก 4 M (Man, Machine, Money, Management) และพิจารณาหลักการควบคุมแก้ไขทางวิทยาศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์เป็นหลัก

วิธีการให้คะแนนความสำคัญใช้

ไม่ออกเสียงไม่เห็นความสำคัญไม่เสนอข้อคิดเห็น
ปัญหาน้อยมากรุนแรงน้อยร่วมมือจากคนงานน้อยมีความยากในการแก้ไข
ปัญหามีพอสมควรรุนแรงพอควรการร่วมมือพอใช้การแก้ไขพอทำได้
ปัญหามีมากรุนแรงมากร่วมมือดีแก้ไขสะดวก
ปัญหาต้องแก้ไขรีบด่วนรุนแรงสุดขีดการร่วมมือทำได้ทันทีการแก้ไขง่าย และทำได้ทันที


 4. วิธีดำเนินการด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามแผน

        หลังจากที่ได้มีการวางแผนงานละเอียดของโครงการความปลอดภัย และจัดอันดับความสำคัญแล้ว ก็จำเป็นต้องจัดวิธีดำเนินการฯ ใครจะเป็นคนดำเนินการนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะ ของแต่ละโครงการย่อย และในแต่ละโครงการย่อยก็ควรจะกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะแนวการดำเนินการอย่างย่อระยะเวลาที่ปรึกษางบประมาณวิธีการประเมินผล ฯลฯ เพื่อเป็นหลักฐาน ในการปฏิบัติงาน และเพื่อนำเสนอต่อ Safety Committee

5. การเปลี่ยนทัศนคติด้านความปลอดภัยและการฝึกอบรม
         
            ทัศนคติหากพิจารณาตามความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว อาจแยกได้ดังนี้ คือ ทัศน” หมายถึง ความเห็น เครื่องรู้เห็น สิ่งที่เห็น ส่วน คติ” หมายถึง ความเป็นไป วิธีแบบอย่างหรือลักษณะ ซึ่งเมื่อรวมกันเป็นทัศนคติอาจจะแปลว่า ลักษณะของความเห็น แต่อย่างไรก็ดีทัศนคตินี้มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ ทัศนคติคือความรู้สึกที่เห็น ด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง” (Attitude is a feeling for or against something or somebody) นอกจากนี้ Bert F. Owen แห่ง M.I.T. ยังได้ให้คำนิยามว่า ทัศนคติคือระดับสภาพหรือสภาวะของจิตใจและสมองในลักษณะที่พร้อมที่จะกำหนดแนวทางของการสนองตอบของบุคคลหนึ่งต่อสิ่งเร้าอันหนึ่ง” สำหรับความรู้สึกนี้มีความหมายคลุมถึงอารมณ์ (Emotion) และพฤติกรรมของคน (Human behavior) อยู่ด้วย
ทัศนคตินี้มีทั้งทางดีและทางชั่ว หรือมีทั้งทางบวก (positive) และทางลบ (Negative) โดยปกติทัศนคตินี้มักรับหรือมีขึ้นมาเริ่มตั้งแต่ตอนแรกๆ ของชีวิต เป็นทำนองชอบหรือไม่ชอบต่อสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ประเพณี ความเชื่อถือ และเรื่องเกี่ยวกับสถาบันแห่งสังคมต่างๆ (Institutions) เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทัศนคติจึงเป็นการพร้อมที่จะสนองทั้งทางดีหรือไม่ดีต่อ Persons, ideas, things และ situations


 ลักษณะสำคัญของทัศนคติอาจแยกพิจารณาออกได้ ดังนี้คือ

1. ทัศนคติไม่ใช่พฤติกรรมเปิดเผยที่มีต่อวัตถุทางสังคมหรือบุคคล แต่เป็นสภาพที่ใกล้ชิดต่อเนื่องกับการกระทำ

2. ทัศนคติจะเป็นเครื่องกระตุ้นอย่างสำคัญที่จะกำหนดพฤติกรรมเปิดเผยของบุคคล แต่ในขณะเดียวกันก็อยู่ภายในขอบเขตจำกัดของบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล

3. ก่อนที่จะเกิดทัศนคติจะต้องมีสิ่งเร้า ทัศนคติเป็นเพียงพฤติกรรมปกปิด (Covert behavior) ที่ตอบสนองสิ่งเร้านั้น
การเปลี่ยนทัศนคติ คือการเปลี่ยนความรู้สึกของคนจากความรู้สึกอย่างหนึ่ง ให้เกิดความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งในเรื่องเดียวกัน การเปลี่ยนทัศนคติของบุคคลนี้อาจทำได้ ทางคือ

1. การให้ความรู้ (Knowledge) สำหรับวิธีการให้ความรู้นี้มีวิธีการที่นิยมใช้อยู่รวม วิธี คือ

ก. วิธีการบอกเล่า (Telling method) ได้แก่
(1) การปาฐกถา
(2) การประชุม
(3) การอภิปรายเป็นชุดของผู้ทรงคุณวุฒิ
(4) การอภิปรายเป็นกลุ่ม
(5) การศึกษาเฉพาะกรณีเรื่อง (Case study)
(6) การทดลองแก้ไขปัญหาตามกรณีที่เกิด
(7) การบันทึกเสียงออกเผยแพร่
(8) การตอบคำถาม
(9) การสอนให้ทำงานและพัฒนาเฉพาะตัว (Coaching) ฯลฯ

ข. วิธีแสดง (Showing method) ได้แก่
(1) การใช้เอกสาร
(2) การเขียนอธิบายบนกระดานดำ การใช้
(3) ภาพยนตร์ แผนภูมิ
(4) แผนผัง แผนภูมิ
(5) การใช้ Overhead Project หรือ Opague
(6) สิ่งของ หุ่นจำลอง นิทรรศการ
(7) รูปภาพ หรือ Poster
(8) การสาธิต
(9) การแสดงเลียนของจริง
(10) การดูและศึกษาจากการปฏิบัติการ ฯลฯ

ค. จัดทำ (Doing Method) ได้แก่
(1) การทำเลียนของจริง
(2) ทำโครงการ หรือแผนงาน
(3) การทดลองปฏิบัติงาน
(4) การปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมดูแล
(5) การให้ไปช่วยงานผู้อื่น
(6) การมอบอำนาจหน้าที่
(7) การหมุนเวียนเปลี่ยนงาน
(8) การสอบข้อเขียนและสอบภาคปฏิบัติ
(9) บทบาทสมมุติ (Role-playing)
(10) การประชุมแบบ Syndicate ฯลฯ



สำหรับวิธีการให้ความรู้ทั้ง วิธีนี้ อาจจะใช้แบบใดแบบหนึ่งตามความเหมาะสม หรืออาจจะใช้หลายวิธีผสมกันก็ได้

2. การทำงานและอยู่อาศัยร่วมกัน รวมทั้งการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Co-operation) สำหรับการทำงานร่วมกันดังกล่าวนี้ จะก่อให้เกิด

(1) ความเห็นใจและเข้าใจซึ่งกันและกัน
(2) ความเป็นกันเอง
(3) การรู้จักนิสัยซึ่งกันและกัน
(4) การผูกมิตร
(5) โอกาสที่จะชี้แจงหรือปรับความเข้าใจกัน

3. การให้ความช่วยเหลือ (Aid) การให้ความช่วยเหลือนี้มีได้ ทางคือ
(1) การให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและเจ้าหน้าที่
(2) การให้ความช่วยเหลือในด้านการเงิน
(3) การให้ความช่วยเหลือในด้านวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์และสิ่งของต่างๆ
สำหรับการให้ความช่วยเหลือนี้จะได้ผลจริงจังและยืนยาวได้ควรประกอบด้วย

(1) มีความจริงใจ (Sincerity)

(2) การมีท่าทีที่ดี (Attitude)

(3) การถูกกาละ (Tinning)

(4) มีความแนบเนียน (Tact)

(5) จะต้องไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน




สำหรับการสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานให้คงอยู่อย่างต่อเนื่องของบุคคล อาจทำได้ โดยวิธีการ ขั้น คือ

ขั้นที่ การกำหนดพื้นฐานสำหรับทัศนคติที่ต้องการ (Laying the foundation for the attitude)
ขั้นที่ สร้างทัศนคติให้เกิดขึ้นแก่บุคคล (Personalizing the attitude for the individual)
ขั้นที่ ปลูกฝังทัศนคติที่ต้องการ (Fixation of the attitude)
ขั้นที่ การดำรงไว้ซึ่งทัศนคติที่ต้องการ (Keeping the attitud-alive)

ขบวนการในการดำเนินการสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้น บุคคลควรดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ทัศนคติที่จะสร้างขึ้นควรจะให้สอดคล้องกับความต้องการ (needs) ของบุคคลนั้น สำหรับการดำเนินการในขั้นนี้ ควรจะให้เขาได้เรียนรู้จากคำขวัญ ภาพยนตร์ของจริง หรือการฝึก อบรม หากมีบุคคลเป็นจำนวนมากก็ควรจะใช้สื่อมวลชน (Mass media) เข้าช่วย

(2) จัดให้บุคคลได้มีการสนองตอบต่อสิ่งที่ต้องการที่จะสร้างเป็นทัศนคติขึ้นให้เป็นนิสัย (Learned responses and habit formation) ซึ่งจะทำได้โดยให้เขามีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริง (Individual participation and On-the Job Training)

(3) ทำให้เขามีอารมณ์ร่วมและมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อทัศนคติที่สร้างขึ้น ซึ่งทำได้โดยให้เขายอมรับสิ่งนั้นอย่างจริงใจ

(4) การดำรงทัศนคติไว้ให้ยืนยาว ในการนี้จะต้องให้เขาประทับใจ จดจำและมีความรู้สึกผิดชอบต่อสิ่งที่เขาได้ยอมรับแล้ว (Attention, memory and emotional set)
จะเห็นได้ว่า การสร้างทัศนคติที่ดีนั้นจะต้องดำเนินการเป็นขั้นตอน เพราะการสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนรู้ การปฏิบัติจนเคยชินและมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งนั้น (Attitude = Learned Responses + Habit + Emotional set)
การเปลี่ยนทัศนคติของบุคคลนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็นสำคัญ ซึ่งคนบางคนก็เปลี่ยนได้มาก และบางคนก็เปลี่ยนได้น้อย หรือบางคนอาจจะเปลี่ยนไม่ได้เลย


 ทัศนคติที่ไม่ปลอดภัยหรือข้ออ้างของผู้ที่ไม่มีจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัย 60 แบบ


1. เราเคยลองมาก่อนแล้ว ยุ่งยาก ช้า ไม่เห็นได้ความ
2. เราอยู่ในฐานะต่างกัน
3. โอ๊ย ไม่ไหวหรอก ถ้ามัวมาคิดทำเรื่องความปลอดภัย เปลืองตายเลย
4. เรื่องนั้นนะ อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของเรา
5. พวกเรามีภาระมากเสียจนไม่มีเวลาจะคิดทำสิ่งนั้น
6. นั่นไม่ใช่ธุระของฉัน
7. มันเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนกันเกินไป คงจะยอมรับกันยาก
8. เราไม่มีเวลาพอที่จะมาคิด มาทำเรื่องความปลอดภัยหรอก
9. ความช่วยเหลือไม่เพียงพอ
10. ถ้าหันมาใช้มาตรการความปลอดภัย อุปกรณ์ที่มีอยู่คงต้องเลิกใช้หมด
11. รอให้ชาวบ้านเขาลองใช้กันดูก่อน
12. หน่วยงานของเรายังเล็กเกินไปที่จะดำเนินการเรื่องความปลอดภัย
13. เป็นเรื่องไม่สะดวกในทางปฏิบัติ
14. ทำออกไปคงไม่มีใครซื้อหรอก
15. สหภาพคงเล่นงานเอาแน่
16. เรายังไม่เคยดำเนินการเรื่องความปลอดภัยมาก่อน
17. มันเป็นเรื่องที่ค้านกับนโยบายขององค์การ
18. ทำให้เสียค่าใช้จ่าย ค่าอำนวยการมากขึ้น
19. เราไม่มีอำนาจ
20. มันเป็นการฝันเฟื่อง หรือสร้างวิมานในอากาศมากเกินไป
21. ลองหันกลับไปดูความจริงกันดีกว่า เท่าที่ผ่านมาไม่เคยเห็นมีอะไรเกิดขึ้นเลย
22. นั่นไม่ใช่ปัญหาของเรา
23. ทำไมจึงจะเปลี่ยนใหม่ล่ะ ในเมื่อมันยังใช้งานได้ดีอยู่เลย
24. ฉันไม่ชอบความคิดนี้เลย
25. แล้วแต่ดวง
26. คุณชักจะล้ำเส้นเกินไปซะแล้ว
27. เรายังไม่พร้อมที่จะดำเนินการเรื่องความปลอดภัย
28. เราขาดทั้งเงิน ทั้งอุปกรณ์ ทั้งสถานที่ และคนที่จะดำเนินการ
29. เราไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้
30. พวกแก่วัดนี่คงสอนมันยาก
31. มันเป็นความคิดที่ดี แต่ยากที่จะปฏิบัติได้
32. ทำเฉยๆ ไว้ดีกว่า
33. ให้เราได้มีโอกาสคิดให้มากกว่านี้สักหน่อย
34. ผู้บริหารชั้นสูงคงไม่เอาด้วยหรอก
35. ผมอยากให้ออกคำสั่งมาเป็นลายลักษณ์อักษร
36. ขืนทำไปคงเชยแหลก
37. คงไม่เกิดเหตุเช่นนี้อีก
38. เรื่องนี้คงจะผลาญเงินเราไปอีกนาน
39. คุณไปขุดเรื่อง (โบราณเก่าคร่ำคร่า) นี้มาจากไหน
40. เราทำกันมาจนหัวหงอกแล้วไม่เห็นมีอะไรเลย
41. นั่นเป็นเรื่องของแผนกความปลอดภัยเค้า
42. นั่นเป็นเรื่องที่ยังไม่เคยมีใครลองทำกันมาก่อนเลย
43. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดีกว่า
44. ผมว่าตอนนี้เก็บเข้าลิ้นชักไว้ก่อนดีกว่า
45. มีใครเคยลองทำมาแล้วหรือยัง
46. ไม่เห็นมีใครเตือนผมเลย
47. ผมไม่เห็นว่ามันจะเกี่ยวกันเลย
48. คงจะนำมาใช้ในหน่วยงานของเราไม่ได้หรอก
49. คุณกำลังพูดถึงเรื่องอะไรนะ … (เหลวไหล ไม่เห็นเข้าท่า)
50. บางทีมันคงจะประสบผลสำเร็จในหน่วยงานของคุณ แต่ในหน่วยงานของผมคงไม่มีทาง
51. กรรมการบริหารคงจะไม่รับไว้พิจารณาแน่
52. คุณคิดหรือเปล่าว่า เราควรพิจารณาเรื่องนี้ให้ลึกซึ้งก่อนที่จะลงมือทำ
53. ในหน่วยงานคู่แข่งของเรา เขาทำอะไรกันบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้
54. เก็บเรื่องนี้ไว้เฉยๆ ก่อนดีกว่า
55. มันไม่มีทางทำได้แน่      
 56. คงจะเปลี่ยนแปลง (ทัศนคติพฤติกรรม) ได้ยาก
57. มันไม่มีคุ้มกันหรอก (ความปลอดภัยกับเงินที่ต้องลงทุน)   
58. คนที่เคยทำอย่างนี้มา ผมก็รู้จัก
59. โอ๊ย … ไม่มีทางเป็นไปได้เลย              
60. ผมทำอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว ไม่เห็นเป็นอะไรเลย


3.2 การซ่อมบำรุงเพื่อความปลอดภัยในโรงงาน
    
      การซ่อมบำรุง   คือ  การดำเนินการใดๆ  ก็ตามที่เป็นการธำรงรักษาสภาพความพร้อมในการทำงานของอาคาร  เครื่องจักรกล  และอุปกรณ์การผลิตต่าง ๆ

1.  เป้าหมายของการซ่อมบำรุง  คือ
1.1 ชะลอความเสื่อมสภาพของเครื่องจักร  อุปกรณ์การผลิต  อาคารสิ่งก่อสร้างฯลฯ
1.2 รักษาแวดล้อมให้มีความปลอดภัยตลอดไป
1.3 ลดค่าใช้จ่ายของปัจจัยการผลิต
1.4 สร้างขวัญกำลังใจแก่คนงาน

จากการพิจารณาเป้าหมายของการซ่อมบำรุงมีอยู่ 2 ส่วน  คือ 
          ส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ  อุปกรณ์  และเกี่ยวกับบุคลากร  เพราะทั้งสองส่วนนี้มีความสัมพันธ์กัน  ควรได้รับการดูแลและเอาใจใส่จากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และกำหนดแผนของการซ่อมบำรุงไว้อย่างเป็นระบบ  ซึ่งในแต่ละโรงงานจะต้องมีขั้นตอนของการจัดการโดยทั่วไป  ดังนี้
1)  จัดตั้งองค์กรขึ้นเพื่อรับผิดชอบงานโดยตรง
2)  ให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ  ศึกษาสาเหตุของการชำรุด  หรือการไม่ทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วหาวิธีดำเนินการ  เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ

2.  แผนงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงงานเพื่อเป็นหลักประกันการทำงานซ่อมบำรุงให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้   โดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

2.1  คนงาน  ได้แก่   การจัดเก็บเอกสารประวัติการทำงาน    ในด้านพื้นฐานความรู้  ความสามารถ  ความชำนาญ   เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดคนให้เหมาะสมกับงานต่อไป

2.2  เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ โดยจะต้องจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับ


1)  แผนผังโรงงาน
2)  แบบติดตั้งและแบบพิมพ์เขียวแสดงรายละเอียดชิ้นส่วนและกลไกการทำงานของเครื่องจักร
 3)  รายการชิ้นส่วนของแต่ละเครื่องพร้อม
4)  บันทึกประวัติการใช้งาน  การซ่อมแซมที่ผ่านมาของเครื่องจักรทั้งหมด

2.3  รายการซ่อมบำรุง

2.4  แบบผังโรงงาน

2.5  ตารางกำหนดการบำรุงรักษา  และซ่อมแซม  ประกอบด้วยตารางแสดงกำหนดเวลาในการบำรุงรักษา

3.  การสร้างขวัญกำลังใจ

                        ควรเริ่มตั้งแต่การับคนเข้าทำงาน    คือต้องพิจารณาความรู้ความสามารถให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่  และเมื่อคนงานได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว   ผู้รับผิดชอบควรติดตามผลการทำงานด้วย

 กลยุทธ์การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
เพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลที่มีประสิทธิผล

           ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่  ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ  หรือเครื่องจักรและอุปกรณ์มาใช้ในกระบวนการผลิต  ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถใช้งานเครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เครื่องจักรหยุดการทำงานเนื่องจากการชำรุดน้อยที่สุด โดยการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรวัตถุประสงค์ของการบำรุงรักษา คือ สามารถที่จะรักษาสมรรถนะความพร้อมในการใช้งานของเครื่องจักร   รักษาประสิทธิผลของเครื่องจักร เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามแผนที่วางไว้  มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด รวมถึงการบำรุงรักษาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องจักร

1.    ผลเสียเมื่อเครื่องจักรเสียหาย
-        ไม่สามารถส่งสินค้าได้ตรงตามเวลาที่กำหนด
-        คุณภาพของสินค้ามีความไม่แน่นอน
-        ต้นทุนสูงขึ้น ในกรณีที่มีการซ่อมเครื่องจักรอย่างเร่งด่วน (อาจจำเป็นที่ต้องจ่ายค่าแรงงานเพิ่มขึ้น)
-        ไม่สามารถที่จะให้บริการที่ดีได้

2.    ประเภทของการซ่อมบำรุงรักษา
            วิวัฒนาการของการซ่อมบำรุงรักษามีบ่อเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในการผลิตและคอมพิวเตอร์  ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไป  โดยมีความก้าวหน้าของวิธีการบำรุงรักษาแบบต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้
-        การบำรุงรักษาแบบซ่อมเมื่อเสีย (Breakdown Maintenance)
-        การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Planned Maintenance or Preventive  Maintenance)
-        การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)
-        การบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไข (Corrective  Maintenance)
-        การป้องกันการบำรุงรักษา (Maintenance Prevention)
-        วิศวกรรมความน่าเชื่อถือ (Reliability Engineering)
-        ทีโรเทคโนโลยี (Terotechnology)
-        การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance)
-        การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)
-        การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive  Maintenance)

โดยมีรายละเอียดของการบำรุงรักษาที่สำคัญต่าง ๆ    ดังนี้
                        
1)    การบำรุงรักษาแบบซ่อมเมื่อเสีย (Breakdown Maintenance) 
เป็นแนวความคิดที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งไม่มีการวางแผนในการทำงานล่วงหน้า โดยพบว่าบุคลากรในฝ่ายซ่อมบำรุงรักษาไม่ปฏิบัติงานจนกว่าจะมีเครื่องในโรงงานชำรุดซึ่งไม่สามารถใช้งานต่อไปได้  อย่างไรก็ตามการซ่อมในลักษณะแบบนี้ก็ยังคงมีการใช้งานอยู่กับบางสถานการณ์ เช่น   ใช้ในเครื่องจักรที่มีการทำงานไม่ซับซ้อนและมีชิ้นส่วนอะไหล่พร้อมอยู่เสมอ หรือสามารถสั่งซื้ออะไหล่ได้ทันที  โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดในการซ่อมบำรุงรักษาแบบนี้ควรมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีอื่น ๆ  เช่น  หลอดไฟต่าง ๆ  จะถูกปล่อยไว้จนกว่าหลอดจะขาด  หรือผ้าเบรกรถยนต์ก็จะปล่อยไว้จนกว่าผ้าเบรกจะหมดหรือไม่สามรถใช้งานได้  เป็นต้น   ข้อเสียของการซ่อมบำรุงรักษาลักษณะนี้ได้แก่
-       ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าเมื่อเครื่องจักรเริ่มชำรุด
-       ไม่สามารถยอมรับได้ ในระบบที่จะต้องการความเชื่อมั่นสูง เช่น  ในอากาศยาน
-       ต้องเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ไว้เป็นจำนวนมาก   ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในสินค้าคงคลัง
-       ไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติงานได้ตามแผนที่วางไว้
-       ไม่สามารถที่จะวางแผนงานในแผนกการบำรุงรักษาได้ 

                        
2)    การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน   (Preventive Maintenance) 
                                เป็นการบำรุงรักษาตามวาระหรือระยะเวลาการใช้งานที่กำหนด เพื่อรักษาสภาพทำงานของเครื่องจักรให้เหมาะสมก่อนที่จะมีการหยุดชะงัก โดยอาจใช้ประสบการณ์ของฝ่ายบำรุงรักษาหรือ คู่มือการใช้งานของเครื่องจักรนั้น ๆ  อย่างไรก็ตามการชำรุดของเครื่องจักรโดยไม่คาดคิดก็สามารถเกิดขึ้นได้  ทั้งนี้รูปแบบการชำรุดของเครื่องลักษณะนี้มีการกระจายอยู่ในลักษณะไม่สม่ำเสมอ  ดังนั้นจึงยากที่จะเลือกช่วงการบำรุงรักษาตามแผนที่เหมาะสม  หรือแม้แต่ในบางกรณีถึงแม้ว่าได้ปฏิบัติงานตามแผนแล้วก็ตาม   ก็อาจมีโอกาสที่จะเกิดการชำรุดของเครื่องจักรโดยไม่คาดคิดได้

3)    การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)
                        เป็นวิธีการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเป็นการเลือกใช้เทคนิคใหม่ ๆ  ของเครื่องมือต่าง ๆ  เช่น  อุปกรณ์ในการวัดความสั่นสะเทือน  กล้องอินฟาเรดเทอร์โมกราฟฟี่  เป็นต้น  โดยสามารถจัดแบ่งการบำรุงรักษาแบบนี้ออกเป็นวิธีย่อย ๆ  คือ   การวิเคราะห์สัญญาณความสั่นสะเทือน ( Vibration  Analysis)  การวิเคราะห์สารหล่อลื่นใช้แล้ว ( Oil/ Wear Practical Analysis)  การวิเคราะห์ภาพถ่ายความร้อน ( Thermography Monitoring)   เป็นต้น ซึ่งเราเรียกวิธีการเหล่านี้ว่า เป็นการติดตามสุขภาพของเครื่องจักร  ทำให้ฝ่ายบำรุงรักษาสามารถที่จะทราบถึงต้นเหตุของการชำรุด และสามารถที่จะวางแผนในการซ่อมบำรุงรักษา เตรียมแรงงาน  จัดซื้อชิ้นส่วนอะไหล่ล่วงหน้า  และสามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาในการทำงานซึ่งไม่ขัดกับแผนกการผลิตหลักได้  โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการบำรุงรักษาลักษณะนี้คือ
-       ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
-       ลดสถิติการชำรุดของเครื่องจักร
-       ลดเวลาในการซ่อมเครื่องจักร
-        ลดปริมาณอะไหล่คงคลังในการบำรุงรักษา
-        เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
-        วางแผนการบำรุงรักษาได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
-        ทำให้การหยุดชะงักของเครื่องจักรน้อยลง
                       
4)     การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive  Maintenance)
                        เป็นการบำรุงรักษาก่อนที่เครื่องจักรจะเริ่มชำรุด  โดยงานบำรุงรักษาแบบนี้มุ่งพิจารณาที่ 
-       รากของปัญหา
-      โดยสามารถจำแนกออกได้ 8 ประการดังนี้ คือ
-       ความไม่เสถียรทางเคมี
-       ความไม่เสถียรทางกายภาพ
-       ความไม่เสถียรทางอุณหภูมิ
-       ความไม่เสถียรทางการสึกหรอ
-       ความไม่เสถียรทางการรั่วไหล
-       การเกิดโพรงอากาศในระบบไอโดลิก
-       ความไม่เสถียรในระดับของสิ่งของสกปรก
-       ความไม่เสถียรจากการบิดตัวเยื้องศูนย์
-       เมื่อสามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้  ก็จะทำให้แก้ไขได้อย่างถูกต้อง

3.    วงจรชีวิตของเครื่องจักร (Machinery life cycle)
วงจรชีวิตของเครื่องจักร นับได้ว่าเป็นวิธีการที่จะนำมาอธิบายช่วงระยะเวลาต่าง ๆ    ของสถานะภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของเครื่องจักรที่มีการเสื่อมสภาพ  การชำรุด  และการสิ้นอายุของเครื่องจักร  โดยทั่วไปแล้วมีการอธิบายลักษณะดังกล่าวในรูปกราฟ เส้นโค้งรูปอ่างน้ำ  ซึ่งเป็นกราฟที่ใช้อธิบายลักษณะที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปของเครื่องจักรกล  และสามารถจัดแบ่งช่วงชีวิตของออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ คือ  ช่วงระยะเริ่มต้น( Run-In) ช่วงใช้งานปกติ(Useful life) และช่วงสึกหรอ ( wear out)   ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1  กราฟเส้นรูปอ่างน้ำ ( Bathtub Curve)
โดยสามารถที่จะอธิบายลักษณะของวงจรชีวิตเครื่องจักรตลอดอายุขัยได้ดังนี้
1)     ระยะเริ่มต้นใช้งาน (Run-In)
                        จากกราฟจะเห็นได้ว่าเป็นลักษณะของการลดของอัตราการชำรุด  ซึ่งการหาค่าอัตราการชำรุด คือ
จำนวนครั้งการชำรุดในช่วงเวลาใด ๆ

เวลาการใช้งานเครื่องจักรในช่วงใด ๆ นั้น

อัตราการชำรุด  ( ) =





ตัวอย่าง  ในการใช้งานเครื่องจักร  1000  ชั่วโมง มีจำนวนครั้งของการชำรุด  10  ครั้ง
                        ดังนั้นอัตราการชำรุด 
 =  ครั้ง/ชั่วโมง
                        และเมื่อนำค่ามาหาส่วนกลับ  
                                                  ครั้ง/ชั่วโมง
            โดยเราเรียกส่วนกลับนี้ว่า  ระยะเวลาเฉลี่ยระหว่างแต่ละครั้งของการชำรุด (Mean Time Between Failure: MTBF) และสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
ระยะเวลาการใช้งานเครื่องจักรในช่วงเวลาใด ๆ

จำนวนครั้งที่เครื่องจักรชำรุดในช่วงเวลาใด ๆ นั้น

MTBF  =

               ดังนั้น ในตัวอย่างเดียวกันนี้ มีค่า        MTBF = = 100       ครั้ง/ชั่วโมง
            นั่นคือ  โดยเฉลี่ยแล้วเครื่องจักรจะมีการชำรุดในทุก ๆ 100  ชั่วโมงในการใช้งาน
สำหรับช่วงระยะเริ่มต้นของการใช้งาน  จะเห็นว่าเป็นลักษณะของการลดลงของอัตราการชำรุด ซึ่งสาเหตุของการชำรุดอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ  ดังนี้
-         การออกแบบเครื่องจักรไม่ถูกต้องเหมาะสม
-         วัสดุในการผลิตเครื่องจักรไม่มีคุณภาพ
-         เทคโนโลยีการผลิตหรือประกอบที่ไม่เหมาะสม
-         การติดตั้งเครื่องจักรผิดไปจากที่กำหนดไว้ในคู่มือเครื่องจักร
-         การใช้งานไม่ถูกวิธี
ดังนั้นในช่วงระยะเริ่มต้น  เมื่อที่การชำรุดจากสาเหตุต่าง ๆ  ก็ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจนเมื่อผ่านพ้นช่วงนี้ไปโอกาสที่จะชำรุดจะลดน้อยลง

2)     ระยะการใช้งานปกติ ( Useful Life)
                  เป็นช่วงที่ต่อเนื่องจากการผ่านระยะเริ่มต้น ซึ่งถ้าหากในช่วงปกติหากสามารถดำเนินการที่ถูกต้องคือ
-         ใช้งานไม่เกินภาระที่ได้รับกรออกแบบไว้
-         บำรุงรักษาตามระยะเวลาในคู่มือของเครื่องจักร
-         ควบคุมสภาพสิ่งแวดล้อม
ซึ่งโอกาสที่เครื่องจะชำรุดคงมีไม่มากนัก  และมักจะค่อนข้างคงที่  จึงจะเห็นได้ว่าเส้นกราฟจะขนานกับแกนของเวลา  นั้นคือ  อัตราการชำรุดค่อนข้างคงที่

3)     ระยะสึกหรอ (Wear Out Period)
                   เป็นช่วงที่เครื่องจักรเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา  เครื่องจักรจะมีการสึกหรอละชำรุดบ่อยขึ้น  จนพังไปในที่สุดและไม่สามารถใช้งานได้

3.3 กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน
                 
           การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งใน การสร้างเสริมทัศนคติจิตสำนึก ความรู้และความเข้าใจของพนักงานทุกระดับคือ ตั้งแต่ฝ่ายจัด การวิศวกร ผู้ควบคุม จนถึงพนักงาน นั่นคือเมื่อผู้บริหารทุกระดับมีจิตสำนึกและรับผิดชอบใน เรื่องความปลอดภัย และถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการบริหารงานด้านอื่นๆ แล้ว ก็ย่อมจะหวังได้ ว่า พนักงานจะได้รับการคุ้มครองดูแลทั้งในด้านการป้องกันอุบัติเหตุและสุขภาพอนามัย และใน อันดับถัดไปจะต้องพยายามส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้มีจิตสำนึกและทัศนคติ ตลอดจนความ รู้ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และร่วมมือในการดูแลให้สถานที่ทำงานนี้ปลอดภัยตลอด เวลาทั้งนี้เพราะการป้องกันอันตรายจากงานเป็นความ ปรารถนา” ของบุคคล
                  
            การแบ่งความรับผิดชอบและหน้าที่ในการทำงานของบริษัทนั้น เริ่มมาจากจุด สูงสุดคือ ฝ่ายจัดการจ่ายงานมาสู่ผู้ควบคุมงานให้มีความรับผิดชอบภายในขอบเขตหนึ่งๆ และ หน้าที่ต้องดูแลควบคุมลูกน้องให้ทำงานเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท จากนั้น ผู้ควบคุมงาน ควรแจกจ่ายงานพร้อมทั้งความรับผิดชอบของงานแก่พนักงานในส่วนที่ตัวเองควบคุมอยู่ ทำนองเดียวกันเมื่อคำนึงถึงระบบความปลอดภัยของพนักงานฝ่ายจัดการระดับสูงสุดจะเป็น กำหนดนโยบายให้เกิดความปลอดภัยของพนักงาน จากนั้นผู้ควบคุมจะเป็นผู้รับสนองนโยบาย ของฝ่ายจัดการมาดำเนินการต่อไป พร้อมทั้งหาวิธีปฏิบัติให้แก่ลูกน้องในสายงานให้เกิด ความสนใจแกมบังคับให้ต้องช่วยกันดูแลความปลอดภัยของตัวเอง และส่วนรวม พนักงานจะ เกิดความสนใจในเรื่องความปลอดภัยได้นั้น จะเริ่มจากการสังเกตเห็นผู้ควบคุมงานมี ความกระตือรือร้นในด้านการดูแลความปลอดภัย มีความพยายามในการดูแลทุกข์สุขของ พนักงาน การชี้แนะถึงอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นพร้อมทั้งความเสียหายที่ตามมา มีการหมั่น ดูแลรักษาเครื่องจักรให้ทำงานอยู่ในสภาพปกติและเกิดความปลอดภัยอยู่เสมอ ฯลฯ สำหรับ ผู้ควบคุมงานนั้น จะเกิดความสนใจในการดูแลความปลอดภัยก็อยู่ที่ฝ่ายจัดการมีนโยบายหลัก ที่แน่นอน มีความกระตือรือร้นถึงความปลอดภัย มีการสนับสนุนช่วยเหลือตามข้อเสนอแนะที่ ผู้ควบคุมงานเสนอมา จัดให้มีหน่วยพยาบาล พร้อมทั้งให้มีการตรวจร่างกายพนักงานทุกคนเป็น ประจำ ความสนใจ และรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นบ่อเกิดแห่งอันตราย ฝ่ายจัดการควรแสดง ความจริงใจต่อการดูแลความปลอดภัยให้ปรากฏแก่ผู้ควบคุมงาน พร้อมทั้งสร้างทัศนคติที่ดีแก่ พนักงานด้วย
                   
           กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยนี้อาจมีหลายกิจกรรมทั้งที่เป็นกิจกรรมที่ให้ พนักงานปฏิบัติและกิจกรรมจูงใจ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานได้ปฏิบัติด้วยความปลอดภัย อีกด้วย ดังนี้

(1) ข่าวสาร
(2) สนทนาความปลอดภัย
(3) การประกวดลดอุบัติเหตุ
(4) การประกวดความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย
 (5) การประกวดคำขวัญ
 (6) การประกวดพนักงานสวมเครื่องป้องกัน
(7) การประกวดหัวหน้างานตัวอย่าง
 (8) การประกวดความคิด
 (9) แถลงนโยบาย
 (10) ฝึกอบรม
(11) การพบปะรายบุคคล
 (12) ชมเชยพนักงานที่ไม่เคยป่วยในงาน
 (13) ตอบปัญหาชิงรางวัล
(14) ให้รางวัลและสิ่งตอบแทน
(15) ตู้รับความคิดเห็น
 (16) ทัศนาจรนอกโรงงาน
(17) ประกวดพนักงานดีเด่นด้านความปลอดภัยประจำปี
 (18) รายงานสภาพงานที่ไม่ปลอดภัย
(19) ป้ายประกาศและแผ่นป้ายความปลอดภัย
(20) แผ่นป้ายสถิติอุบัติเหตุ
(21) การแสดงผลงาน
(22) การจัดนิทรรศการ
(23) เลี้ยงสังสรรค์ฉลองความสำเร็จด้านความปลอดภัย
(24) การติดโปสเตอร์
(25) การติดสัญลักษณ์ความปลอดภัย
(26) ตั้งคณะกรรมการระดับพนักงาน เป็นต้น

              ในการดำเนินการนั้น ก็คงจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละโรงงาน และแต่ละ หน่วยงานที่จะเลือกดำเนินการกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ซึ่งอาจจะกล่าวถึงรายละเอียดใน บางกิจกรรมดังนี้
                      1.การจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะจูงใจให้พนักงานเกิดความสนใจในการดูแลความปลอดภัยเพราะ พนักงานมีส่วนรับรู้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันควบคุมไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น เพราะพวกเขา เป็นผู้ใกล้ชิดกับงานโดยตรงย่อมทราบสาเหตุอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังเป็นการเสริมสร้าง ความรู้แก่พนักงานและถ่ายทอดไปยังผู้ร่วมงานอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นกรรมการอย่างใกล้ชิด

หลักการที่จะช่วยให้คณะกรรมการระดับพนักงานช่วยกันดูแลความปลอดภัยให้ ประสบผลสำเร็จก็คือ

(1) สร้างความต้องการร่วมกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่คณะกรรมการ

(2) แม้ว่าผู้ควบคุมงานจะแจกจ่ายหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้แก่คณะกรรมการ ก็ตามแต่เขาก็ยังคงมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัยอยู่นั่นเอง

(3) เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่ที่ได้รับ (ตรวจสอบสภาพการทำงาน สังเกตจุด อันตราย สอบสวนอุบัติเหตุและรายงานเสนอแนะ) คณะกรรมการต้องมีการกำหนดการที่ แน่นอนและตั้งเป้าหมายไว้ด้วย

(4) ผู้ควบคุมงานควรทำการติดต่อสั่งงานกับสมาชิกในแผนกของตนเอง ไม่ควร ยกเอาคณะกรรมการขึ้นมาอ้าง

(5) ควรรับฟังข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ และหากข้อเสนอแนะที่ดีมีคุณค่าก็ควร นำมาปฏิบัติ แต่ถ้าอยู่เหนืออำนาจของผู้ควบคุมงานตัดสินใจได้ก็ควรเสนอให้ระดับบริหารที่ สูงกว่าตัดสินใจ และหากข้อเสนอแนะนั้นไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ควรมีการชี้แจงแก่คณะกรรมการ ให้กระจ่าง

(6)  ระเบียบวาระการประชุมของคณะกรรมการควรจำกัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องการดูแล ความปลอดภัย คณะกรรมการไม่ ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานด้านแรงงานสัมพันธ์หรือเรื่องอื่น ใดที่ไม่เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ

(7)  ควรมีการกำหนดเวลาในการหมุนเวียนเปลี่ยนคณะกรรมการ เพื่อให้พนักงานอื่น มีโอกาสบ้าง

(8 ) มีการเก็บบันทึกการประชุมทุกครั้ง

(9) การประชุมควรเป็นไปตามกำหนดและยอมให้ผู้สนใจเข้าฟังได้ด้วย


        2. โปสเตอร์เกี่ยวกับความปลอดภัย โปสเตอร์เกี่ยวกับความปลอดภัย เป็นเครื่องเตือนพนักงานให้หมั่นระมัดระวังใน การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ปกติผู้ควบคุมงานจะเป็นผู้กำหนดโปสเตอร์และลักษณะภาพที่จะ ติดประกาศในแผนกให้สอดคล้องกับนโยบายหลักในการดูแลความปลอดภัย สถานที่ใน การเลือกติดโปสเตอร์ควรอยู่ในที่เด่นสะดุดตา  มองเห็นได้ง่าย และไม่ควรกีดขวางการสัญจร ระดับที่จะติดโปสเตอร์ที่ดีควรอยู่ระดับสายตาประมาณ 63 นิ้วจากพื้น ควรอยู่ในบริเวณที่มี แสงสว่างดีหรือในบางกรณีอาจต้องมีไฟส่องเฉพาะขนาดที่ใช้ติดโปสเตอร์ที่ดีควรมีความกว้าง 22 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว หรืออาจจะใหญ่พอที่จะติดโปสเตอร์ได้ แผ่น ขนาดโปสเตอร์ มาตรฐานมีอยู่ ขนาดคือ


ขนาด มีขนาด 8 ½ นิ้ว X 11 นิ้ว

ขนาด มีขนาด 17 นิ้ว X 23 นิ้ว
     
             3.การเปิดโอกาสให้พนักงานเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ระบบการให้มีข้อเสนอแนะนั้นเป็นการสนับสนุนให้พนักงาน มีสิทธิออกความคิดเห็น ส่วนตัวได้อย่างเสรี เป็นการเพิ่มความสนใจและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพของ ความปลอดภัย นอกจากนี้ผู้บริหารและผู้ควบคุมงานสามารถรู้รายละเอียดเพิ่มเติมจากจุดบอด บางจุด ซึ่งตัวเองไม่สามารถเข้าไปถึง ตามปกติจะมีแบบฟอร์มเสนอแนะ และตู้เก็บข้อมูล ดังกล่าว ควรจะรวบรวมข้อเสนอแนะบ่อยๆ และรับรู้ทัน ผลของการตัดสินใจควรจะแจ้งให้ ทราบทันทีพร้อมทั้งมีคำอธิบายสั้นๆ ให้พนักงานทราบในกรณีที่ไมสามารถยอมรับข้อเสนอแนะ นั้นได้
       
            4. หลักสูตรปฐมพยาบาล หลายบริษัทประสบผลสำเร็จในการจูงใจให้พนักงานดูแลความปลอดภัยโดยการจัดให้มี หลักสูตรปฐมพยาบาล และมีการสาธิตต่อพนักงานเป็นครั้งคราว นอกจากนั้นควรรวม การปฐมพยาบาลเข้าโครงการฝึกอบรมพนักงานใหม่ด้วย
       
           5. การจัดประชุมเกี่ยวกับความปลอดภัย การประชุมของแผนกอาจจะมีการฉายภาพยนตร์หรือมีรูปประกอบคำบรรยาย โดย ต้องให้พนักงานอย่างน้อย 15-20 คนมองเห็น หรืออาจเป็นภาพสไลด์ได้ก็ยิ่งดี นอกจากนี้ อาจมีการนำอุปกรณ์ป้องกันอันตรายแบบต่างๆ มาแสดงให้ดูด้วย ในกรณีที่มีการประชุม มากกว่าหนึ่งแผนกขึ้นไปก็ควรอธิบายนโยบายหลักการของบริษัทเกี่ยวกับความปลอดภัย และ บ่อยครั้งทีเดียวที่การประชุมมักจะจัดให้มีการมอบรางวัลแก่พนักงาน หรือแผนกที่สามารถดูแล ความปลอดภัยได้ดีและในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจำเป็นต้องทำการชี้แจงให้พนักงาน เข้าใจข้อเท็จจริง ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นข่าวลือ ซึ่งบางครั้งอาจจะนำความเสียหายมาสู่บริษัทได้

การประชุมความปลอดภัยก็เหมือนกับการประชุมแบบอื่นๆ ซึ่งจะต้องคำนึงถึง อุปนิสัยของมนุษย์บ้างดังนี้

(1) คนเราจะไม่อยากเข้าประชุมหากหัวข้อการประชุมนั้นไม่เป็นที่น่าสนใจ
(2) คนส่วนมากมักไม่ยอมอุทิศตนในการทำงานด้านนี้นอกจากจะต้องมี ความสนใจอย่างแรงกล้าต่อความปลอดภัย
(3) คนเราจะยอมรับความคิดเห็นเพียงอย่างสองอย่างเท่านั้น หากมากกว่านี้ ก็จะก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายและไม่ยอมรับฟัง
(4) คนเราจะอยู่ในสภาพไม่ยอมรับฟัง หากอยู่ในท่าไมสบาย เช่น ยืนนานๆ หนาว ร้อนเกินไป แสงจ้าเกินไป หรือมีเสียงมารบกวน หรือในกรณีที่ผู้นั้นป่วยไมสบาย
(5) ควรจัดการประชุมให้ดีมีการตระเตรียมไว้ก่อน เช่น เตรียมภาพยนตร์ สไลด์คำบรรยาย การแสดง ฯลฯ และควรมีลำดับการประชุมที่ดีด้วย การประชุมเกี่ยวกับ ความปลอดภัยไม่ควรให้นานเกินกว่า 30 นาที ควรจะให้สั้นและง่ายๆ ยกเว้นเรื่องที่น่าสนใจ จริง ๆ อาจผ่อนผันให้ถึงหนึ่งชั่วโมง ผู้ควบคุมงานต้องเป็นผู้เสนอหัวข้อเรื่องในการประชุม

            6. การประกวดคำขวัญความปลอดภัย การจัดให้มีการประกวดคำขวัญความปลอดภัย เป็นกิจกรรมที่สำคัญกิจกรรมหนึ่ง ที่จะเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อช่วยเหลือสังคมที่ตนสังกัดอยู่ใน การที่จะเตือนใจเพื่อร่วมงานให้ได้มีความระมัดระวัง และมีสติในขณะปฏิบัติงาน และในขณะ เดียวกันก็เป็นการพัฒนาจิตสำนึก และทัศนคติของตัวพนักงานเองให้ได้คิดใคร่ครวญ และ ทบทวนถึงวิธีปฏิบัติงานของตนเองว่าถูกหรือผิดหรืออย่างไร แล้วกลั่นกรองออกมาเป็นข้อความ หรือคำขวัญที่เป็นการเตือน การให้ระมัดระวัง ตลอดจนวิธีปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย เป็นต้น เพื่อส่งเข้าร่วมประกวดต่อไป ในการดำเนินงานนั้น ปกติคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ความปลอดภัยของโรงงานจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากฝ่าย จัดการโรงงาน ในอันที่จะจัดสรรงบประมาณให้และเข้ามีส่วนร่วม คณะกรรมการอาจแต่งตั้ง คณะทำงานขึ้น เพื่อยกร่างกติกาการประกวด การประชาสัมพันธ์การคัดเลือก และการตัดสิน กติกาการประกวดคำขวัญ นั้นก็คงจะขึ้นอยู่กับการยกร่างของคณะทำงานหรือคณะกรรมการ เป็นหลัก

            7. การแข่งขันการลดอุบัติเหตุ วิธีเป็นที่นิยมในอเมริกา เป็นวิธีที่ก่อให้เกิดความในใจในการดูแลความปลอดภัยที่มี ประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง การแข่งขันกันอาจจะแบ่งกันเป็นแผนก โรงงาน ฝ่าย หรือ ระหว่างบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน ตามปกติจะจัดให้มีการประกวดในระยะเวลา 6 เดือน หรือ ปี การประกวดระหว่างแผนกเป็นการท้าทายผู้ควบคุมงานมากที่สุด เพราะ เขาต้องเป็นผู้ชักจูงพนักงานในแผนกของตัวเองให้กระตือรือร้นที่จะแข่งขันกับแผนกอื่นใน การดูแลความปลอดภัย ในกรณีที่แต่ละแผนกมีความแตกต่างกันทางด้านขนาด (จำนวน พนักงานต่างกัน) ประเภทของการปฏิบัติงานก็อาจจะเปรียบเทียบกันได้ดังนี้

เปอร์เซ็นต์ที่ลดลงของอัตราการเกิดอุบัติเหตุ (Frequency Rate) ในช่วงกำหนด เวลาหนึ่ง

 - อีกวิธีหนึ่งคือ กำหนดแต่มีต่อระหว่างแผนก แผนกใดมีการจ่ายเงินทดแทนเนื่อง จากอุบัติเหตุสูง ก็จะได้แต่มีต่อสูง เป็นต้น เช่น แผนก ได้เงินทดแทน 600 บาท แผนก ได้เงินทดแทน 400 บาท และแผนก ได้เงินทดแทน 300 บาท ดังนั้น อัตราส่วนที่จะนำมาเป็นแต่มีต่อคือ 600 : 400 : 300 หรือ 3 : 2 : 1.5 ผลการแพ้ ชนะคือ Frequency Rate มาหารด้วยแต่มีต่อ

            8. การส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย โดยหลักการด้านความปลอดภัยนั้น การป้องกันอันตรายที่แหล่งหรือต้นตอนั้น เป็นความจำเป็นที่ต้องกระทำ และให้ถือว่าการอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลนั้น จะรอไว้ เป็นแหล่งหรือสิ่งสุดท้าย ทั้งนี้เพราะทุกฝ่ายตระหนักดีว่า พนักงานทุกคนนั้นไม่นิยมที่จะให้มี 1 - 53 อุปกรณ์ใดๆ มาปิดปาก ปิดจมูก สวมบนใบหน้า ศีรษะ หรือเท่า โดยเกือบจะทุกคนจะบ่นว่า อึดอัด รำคาญ เป็นต้น แต่โดยข้อเท็จจริงนั้น การควบคุมหรือป้องกันอันตรายที่แหล่งกำเนิด หรือต้นตอของเหตุแห่งอันตรายนี้มักจะกระทำหรือดำเนินการได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ หรืออาจ กระทำได้ในขอบเขตที่จำกัด ดังนั้น อันตรายที่แฝงเร้นอยู่ในลักษณะต่างๆ จึงยังไม่หมดไป และในที่สุดก็คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้สำหรับ การดำเนินการปลูกฝังให้มีการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว นับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งฉะนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบจะต้องมุ่งรณรงค์และส่งเสริมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้พนักงานทุกคน ได้มีการสวมใส่อุปกรณ์ฯ จนติดเป็นนิสัยในที่สุด ในการดำเนินการอาจทำได้หลายวิธี แต่ในทีนี้ จะยกตัวอย่างวิธีดำเนินการส่งเสริมโดยการคัดเลือก พนักงานตัวอย่างที่ใช้อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคล และการรณรงค์ให้มีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ที่ทาง บริษัทฯ จัดให้อย่างกว้างขวาง
         
            9. การเสนอความคิดเรื่องความปลอดภัย เพื่อให้การดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุเป็นไปอย่างได้ผล และอาศัยความรู้ ความสามารถของพนักงานผู้ปฏิบัติงานอยู่ในลักษณะงานนั้นๆ ได้มีความคิดสร้างสรรค์ และ เสนอความคิดนั้นเพื่อนำไปปฏิบัติได้จริงๆ เป็นการให้พนักงานมีส่วนร่วมในการป้องกัน อุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองและเพื่อนร่วมงาน
            
            หลักการ
(1) ให้พนักงานทุกระดับมีสิทธิส่งความคิดเรื่องความปลอดภัย จะเป็นรายบุคคลหรือ เป็นทีมก็ได้
(2) การเสนอความคิดเรื่องความปลอดภัย อาจจะเป็นการปรับปรุงเครื่องจักร วิธีการ ทำงาน คิดประดิษฐ์เครื่องมือใหม่ หรือปรับปรุงสภาพการทำงาน เป็นต้น
(3) ความคิดที่เสนอนั้นสามารถนำไปปฏิบัติได้ผลจริงตามที่เสนอ
 (4) พนักงานที่เสนอความคิดเรื่องความปลอดภัย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงจะได้ รับรางวัลชมเชยจากโรงงาน
(5) คณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุประจำโรงงาน จะเป็นผู้พิจารณาความคิดที่เสนอมา
           
               วิธีการ
(1) ให้พนักงานแสดงความคิดเรื่องความปลอดภัย ผ่านทางคณะอนุกรรมการฯ ประจำ หน่วยงานของตนเองได้ตลอดเวลา
 (2) คณะอนุกรรมการฯ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการ เพื่อให้ปฏิบัติ ได้ผลในการป้องกันอุบัติเหตุตามที่เสนอมา
(3) หากได้ผลตามที่เสนอมา คณะกรรมการจะทำเรื่องเสนอผู้อำนวยการโรงงาน เพื่อ พิจารณาให้รางวัล
       
                 10. การตรวจสอบปัญหาสภาพแวดล้อม เพื่อตรวจสอบปัญหาการสัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี อันตราย เสียง ความสั่นสะเทือน ความร้อน รังสีชนิดแตกตัวหรือรังสีชนิดไม่แตกตัว เป็นต้น ซึ่งปัจจัยสิ่งแวดล้อมเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยในระยะสั้น (กรณีเฉียบพลัน) หรือก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาว (กรณีเรื้อรัง) ได้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบระดับของ การสัมผัสปัจจัยสิ่งแวดล้อมว่ามากน้อยเพียงใด เพื่อหาทางลดการสัมผัสลง นอกจากนี้ยังต้อง สืบค้นให้ได้ว่าสิ่งที่พนักงานสัมผัสหรือเกี่ยวข้องนั้นคืออะไร จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของ พนักงานอย่างไร ทั้งนี้จะต้องตรวจสอบวาการสัมผัสสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่างๆ นั้น ได้ปฏิบัติ ให้เป็นไปตามาตรฐานหรือกฎหมายแรงงานของประเทศไทยแล้วหรือยัง อย่างไรก็ดีการตรวจ สอบปัญหาสุขศาสตร์ อุตสาหกรรม ที่อาจต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านสุขศาสตร์ อุตสาหกรรมประกอบด้วย
   
              11. การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย บางครั้งเรียกว่า การวิเคราะห์งานอันตราย ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์และประเมินอันตราย ของงานอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพราะว่างานแต่ละงานนั้นประกอบขึ้นด้วยขั้นตอนต่างๆ แต่ละ ขั้นตอนนั้นอาจมีอันตรายแฝงอยู่ การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยนี้ จะสามารถค้นหา อันตรายที่อาจมีอยู่ในแต่ละขั้นตอนได้ แล้วก็จะสามารถเสนอแนวทางในการขจัดอันตรายหรือ ป้องกันอันตรายนั้นได้เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยนี้อาจมอบหมายให้ผู้จัดการ แผนกวิศวกรรมหรือ หัวหน้าผู้ควบคุมงาน ในแต่ละแผนกเป็นผู้ดำเนินการได้ทั้งนี้จะต้องมี การจัดอบรมผู้ที่จะดำเนินการเรื่องนี้เสียก่อน

                      12. การสอบสวนอุบัติเหตุ / อุบัติการณ์ เป็นการดำเนินการเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยและอุบัติการณ์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อจะได้สามารถแก้ไขและขจัดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ให้หมดไปได้ ในการสอบสวนอุบัติเหตุนั้นควรพิจารณาทั้งสาเหตุทางตรงและสาเหตุทางอ้อม ของอุบัติการณ์เสมอ เพราะบ่อยครั้งพบว่าสาเหตุทางอ้อมนั้นเป็นเหตุสำคัญ (เช่นขาดการฝาก อบรม) ที่เป็นเหตุทำให้เกิดสาเหตุทางตรงของอุบัติการณ์แต่ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า การสอบ สวนอุบัติเหตุมิได้ดำเนินการเพื่อหาผู้กระทำผิดหรือเพื่อตำหนิติติง แต่มุ่งค้นหาสาเหตุเพื่อ หาทางแก้ไข ปกติการสอบสวนอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ จะดำเนินการโดยทีมงาน ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายจัดการวิศวกรรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และผู้ชำนาญการในเรื่องที่ เกี่ยวข้องเช่น  วิศวกรรม การซ่อมบำรุง หรือการผลิต นอกจากนี้คณะกรรมการความปลอดภัย อาจเข้าร่วมในกิจกรรมนี้ด้วยก็ได้

                     13. การเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ถูกต้องตาม กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน จากการสำรวจตรวจสอบสถานที่ปฏิบัติงานจากรายงาน สถิติการประสบอันตราย จาก ข้อเท็จจริงต่างๆ อาจพบปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อพนักงานผู้รับเหมาและบุคคลภายนอกที่ 1 - 55 เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ ซึ่งปัญหาทั้งหลายที่พบนั้นอาจจะ เกิดจากการที่ไม่ได้ปฏิบัติกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีด้วยกันหลายฉบับ คณะกรรมการอาจมีมติให้เสนอแนะมาตรการเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไข ให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องต่างๆ เช่น

 - การดูแลความปลอดภัยจากเครื่องจักร
– การดูแลความปลอดภัยจากไฟฟ้า
การป้องกันอัคคีภัย
การป้องกันอันตรายจากความร้อน
– การจัดแสงสว่างในสถานที่ทำงาน
การป้องกันอันตรายจากเสียงดัง
– การดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ
การทำงานในสถานที่อับอากาศ
– การจัดทำเขตก่อสร้างเพื่อป้องกันอันตราย
การดูแลความปลอดภัยในการตอกเสาเข็ม
การดูแลความปลอดภัยในงานก่อสร้างที่เกี่ยวกับนั่งร้าน
การป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น การตกหล่น และการพัง ทลาย
– การดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับลิฟท์ขนส่งวัสดุ
–  การดแลความปลอดภัยเกี่ยวกับปั่นจั่น
-  การป้องกันอันตรายจากภาวะแวดล้อม (สารเคมี)
– การดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (ประดาน้ำ)
 การดูแลเกี่ยวกับการทำงานที่ยาวนานเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานล่วง เวลาที่มากเกินสมควร
– การดูแลการจัดสวัสดิการที่ว่าด้วยการจัดให้มีน้ำดื่ม ห้องน้ำ และส้วม
การจัดให้มีแพทย์และพยาบาลประจำ
– การจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี

              14. การกำหนดระเบียบดานความปลอดภัย และมาตรฐานความปลอดภัยในการ ทำงาน กิจกรรมนี้อาจแยกออกเป็น ส่วน ดังนี้

          (1) การกำหนดระเบียบด้านความปลอดภัย โดยทั่วไปกฎระเบียบด้าน ความปลอดภัยก็จะกำหนดขึ้นโดยอาศัยนโยบายของบริษัทและกฎหมายที่หน่วยราชการกำหนด ให้สถานประกอบกิจการหรือบริษัทปฏิบัติซึ่งกฎระเบียบความปลอดภัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่บริษัทจะ ต้องติดประกาศหรือพิมพ์แจกจ่ายให้พนักงานทุกคนได้ทราบและถือปฏิบัติในการปฏิบัติงาน ประจำวัน กฎระเบียบความปลอดภัยที่จะกำหนดขึ้นปกติจะต้อง 
– ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช่ศัพท์แสลงที่เข้าใจยาก
ใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมา และชัดเจนไม่อ้อมค้อม
 - ให้มีการอธิบายความสั้นๆ เพิ่มเติม เพื่อป้องกันการสับสน
 - เป็นระเบียบที่มีความเป็นกลาง
– มีจำนวนข้อเท้าที่จำเป็น ไม่มากจนจำไม่ไหว

        ตัวอย่างเช่น
-                    ใช่ปรับ แต่ง และซ่อม เครื่องมือเมื่อได้รับอนุญาตเท่านั้น
-                    รับการปฐมพยาบาลทันทีรายงานอุบัติการณ์การบาดเจ็บ และ การเจ็บป่วยทันทีแม้ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม เป็นต้น

               (2) มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน จะต้องพิจารณากำหนดมาตรฐาน ความปลอดภัยในการทำงานขึ้น ซึ่งในการกำหนดมาตรฐานนั้น อาจแต่งตั้งและมอบหมายให้ คณะบุคคลซึ่งอาจเป็นคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานหรือผู้ชำนาญการ เข้ามาช่วย ดำเนินการยกร่างให้ก็ได้อย่างไรก็ตามในการกำหนดมาตรฐานนี้อาจกำหนดเป็น ส่วน คือ

 (1) มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องจักรอุปกรณ์และการปฏิบัติและ

 (2) มาตรฐานของความรับผิดชอบของบุคคล  ซึ่งอาจยกตัวอย่างให้เห็นได้ เช่น 

-  การกำหนดมาตรฐานของครอบนิรภัยเครื่องจักร 
-  การกำหนดมาตรฐานของที่จัดเก็บเครื่องมือ 
-  การกำหนดมาตรฐานของการขีดสีตีเส้นบริเวณที่ทำงาน 
-   การกำหนดมาตรฐานของการมีส่วนร่วมของพนักงาน
-   การกำหนดมาตรฐานของการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
-   การกำหนดมาตรฐานของความรับผิดชอบของพนักงาน ห้องเก็บเครื่อง มือ ในการตรวจทดสอบเครื่องมือ ในการตรวจทดสอบเครื่องมือก่อนนำ ออกไปใช้
-   การกำหนดมาตรฐานของความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยของผู้ บริหารระดับต่างๆ

                 15. จัดทำโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ การฝึกอบรมนับได้ว่าเป็นภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งขององค์กรในปัจจุบัน ดังนั้น ภารกิจของคณะกรรมการในการจัดทำโครงการหรือแผนกการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการทำงาน รวมถึงการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัย ของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับ จึงต้องพิจารณาดำเนินการ ให้เป็นรูปธรรม โดยอาจพิจารณาแบ่งประเภท
การฝึกอบรม ดังนี้

(1) การฝึกอบรมการบริหารความปลอดภัย เป็นหลักสูตรสำหรับผู้บริหารและ วิศวกร ระดับ ต่างๆ
(2) การฝึกอบรมปฐมนิเทศ สำหรับพนักงานใหม่
(3) การฝึกอบรม เทคนิคความปลอดภัย ปกติจะจัดขึ้นสำหรับหัวหน้าผู้ควบคุมงาน และพนักงานทั้งหลาย ซึ่งหลักสูตรอาจจะกำหนดขึ้นโดย
 - ผู้ผลิตเครื่องจักร / อุปกรณ์เทคนิค
– กฎหมายของรัฐบังคับต้องจัดการอบรมความปลอดภัยในเรื่องต่างๆ
– บริษัทหรือสถานประกอบการเป็นผู้กำหนดให้ฝึกอบรมเพื่อให้ สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของผู้ผลิตเครื่องจักร และให้เป็นไปตาม กฎหมายกำหนด
(4) การฝึกอบรมการปฏิบัติงานในบางจุด ที่มีความเสี่ยงอันตราย เช่นงานที่มี ลักษณะการใช้อวัยวะที่ซ้ำซากจำเจ หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่ดี เป็นต้น

                 16. การจัดทำนโยบายความปลอดภัย เนื่องจากนโยบายเป็นสิ่งที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อกาลเวลา และสถานการณ์ เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นอาจศึกษานโยบายความปลอดภัยของบริษัทที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน หากเห็นว่าองค์ประกอบของนโยบายควรมีการปรับปรุงก็สามารถนำเสนอให้ปรับปรุงเปลี่ยน แปลงแล้ว ให้นายจ้างหรือผู้บริหารระดับสูง เพื่อพิจารณาลงนามในนโยบายความปลอดภัยฉบับ ใหม่ต่อไป

                  17. การค้นหา การประเมิน และการควบคุมอันตราย (Hazard Recognition, Evaluation and control) การทำให้เกิดและการดูแลให้เกิดสภาพความปลอดภัยที่ดีนั้นจะต้องทำการค้นหา อันตรายให้พบ และทำการประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้น แล้วพัฒนาหนทางที่จะขจัดหรือ ควบคุมอันตราย ดังกล่าว แล้วจึงกำหนดแผนเพื่อดำเนินกิจกรรมนี้นับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ สำคัญยิ่ง ซึ่งจะประกอบด้วยเทคนิคต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาและการประเมิน อันตรายแล้วจึงทำการควบคุมต่อไป เช่น การตรวจความปลอดภัย (Safety inspection) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety analysis) การสอบสวนอุบัติเหตุ / อุบัติการณ์ (Accident / incident investigation) การประเมินทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial hygiene exposure assessment) การทบทวนระบบความปลอดภัย (System Safety review) และการควบคุมในทางวิศวกรรม การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคล

                18. การออกแบบสถานที่ทำงานและวิศวกรรม (Workplace Design and Engineering) การทำให้สถานที่ทางานมีความปลอดภัยและถูกสุขอนามัย ที่ง่ายและประหยัดที่สุดคือ การดำเนินการเมื่อกำลังอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบอาคารสถานที่ กระบวนการผลิตและ การเลือกอุปกรณ์ซึ่งการออกแบบ ความปลอดภัย” สำหรับสถานที่ทำงานนั้นมีความสำคัญ เท่าเทียมกับการออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูง การออกแบบสถานที่ทำงานที่คำนึงถึง ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยนั้น จะช่วยให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะ ส่งผลให้เกิดผลผลิตที่สูงขึ้น ตรงกันข้ามกับสถานที่ทำงานที่ออกแบบโดยไม่ได้คำนึงถึง ความปลอดภัย และสุขภาพของพนักงาน ก็จะก่อให้เกิดความเหนื่อยล้า การบาดเจ็บ หรือ การเจ็บป่วยมากขึ้น ผลสำเร็จของการมีสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพนั้น เป็น ผลพวงจากกระบวนการออกแบบ การประเมิน และการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา กิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่จะต้องนำมาพิจารณาดำเนินการประกอบด้วย การทบทวนการออกแบบ และการเริ่มต้นผลิต (Design and start-up review) ปัจจัยการยศาสตร์ (Ergonomic factors) การสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐาน (Codes and Standards) มีครอบนิรภัยเครื่องจักร (Machine safeguarding) มีการเคลื่อนย้ายวัสดุอย่างปลอดภัย (Material handling) การใช้ กระบวนการผลิตอัตโนมัติ (Automated processes) มีมาตรการป้องกันอัคคีภัยและการช่วย ชีวิต (Life safety and fire protection) เป็นต้น

                 19. การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Involvement) การออกแบบและการควบคุมทางวิศวกรรมสามารถลดอันตรายในสถานที่ทำงานได้ใน ระดับหนึ่งเท่านั้น ในปัจจุบันสถานประกอบกิจการทั้งหลายเริ่มเข้าใจแล้วว่าทรัพยากรที่สำคัญ ของบริษัทคือพนักงาน ไม่ใช้เครื่องจักร และสถานประกอบกิจการเริ่มตระหนักแล้วว่า พนักงาน ทั้งหลายจะต้องเรียกร้องให้สถานที่ทำงานนั้นปลอดภัย และมีสุขอนามัยที่ดียิ่งพนักงานได้มี โอกาสเข้ามาร่วมในการวางแผน การดำเนินการและการปรับปรุงสถานที่ทำงาน พนักงานก็จะ เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงานให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาความปลอดภัยและ สุขภาพพบว่าบ่อยครั้งเกิดขึ้นจากพนักงานที่เคยได้รับอันตรายมาก่อน ดังนั้น การให้พนักงาน เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมความปลอดภัย เช่น การเข้าเป็นกรรมการในคณะกรรมการ ความปลอดภัย และการเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมความปลอดภัยต่างๆ จะช่วยส่งเสริมให้ ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการก้าวหน้ายิ่งขึ้น

             20. การจูงใจ พฤติกรรม และทัศนคติ (Motivation , Behavior and Attitudes) การจูงใจมีเป้าประสงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนปลงพฤติกรรมและทัศนคติในการทำให้ สถานที่ทำงานปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีกว่า กิจกรรมนี้จะมุ่งดำเนินการ ด้าน ด้านหนึ่ง จะมุ่งจูงใจและกระตุ้นพนักงาน และอีกด้านหนึ่งจะมุ่งเน้นที่บทบาทของฝ่ายจัดการในการเป็น ผู้นำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย หรือ ทัศนคติและ พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ก็ควรจะใช้เทคนิคการจูงใจ เทคนิค คือ การสื่อสาร (Communications) การให้รางวัล / การให้สินน้ำใจ / การยกย่องชมเชย (awards / incentives / recognition) และการสอบถามพนักงานโดยใช้แบบสอบถามหรือสัมภาษณ์ (Employee surveys)


บรรณานุกรม

กฎกระทรวง  กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพ    แวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549

กระทรวงฉบับที่  39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522.

กระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ  พ.ศ. 2548. กำหนดมาตรฐานในการบริหารและ  การจัดการด้านความปลอดภัย   อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง 
และเสียง พ.ศ. 2549.

ประกาศกรมสวัสดิการและสิ่งแวดล้อม  เรื่อง  หลักเกณฑ์  วิธีการดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน  แสงสว่าง หรือเสียง ภายในสถานประกอบกิจการที่ต้องดำเนินการ

อนามัย ธีรวิโรจน์ เทศกะทึก.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย. - -  พิมพ์ครั้งที่ 5. - -กรุงเทพฯ  โอเดียนสโตร์, 2556.  400 หน้า. 1.อาชีวอนามัย.  2. ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม.

วิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย,  สมาคม. รวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : มิตรนาการพิมพ์, 2542.

ส่งเสริมความปลอดภัยเละอนามัยในการทำงาน (ประทศไทย)สมาคม. รวมกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พิมพ์โดยสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน (ประเทศไทย),  2537.

พรพิมล กองทิพย์ สุขศาสาตร์อุตสาหกรรม. – กรุงเทพมหานคร เบสท์  กราฟฟิค เพรส จำกัด 2555. 360 หน้า
อนุศักด์  ฉิ่นไพศาล.การจัดการความปลอดภัย. – กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2559. 348  หน้า.

เว็บไซด์ :























  วิทยาศาสตร์สุขภาพและความปลอดภัย ( 0505209 )

 ( Health and Safety Science )

เรื่อง สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม

จัดทำโดย


58010521041      นายสงกรานต์   ดวงพิทักษ์              เลขที่   17
58010521045       นายสุวิชา           นีรนนท์                 เลขที่   18
58010521050      นายอำพล         หอมทอง                 เลขที่   19
58010521051      นางสาวจิราภรณ์   คำทองทิพย์        เลขที่   20
58010521056      นางสาวณัฐสุดา      ตาทิพย์              เลขที่   21
58010521059      นางสาวปนวรรณ   เอกวารีย์            เลขที่   22
58010521060      นายพนัฐพงษ์       โนนศรี               เลขที่   23
58010521062      นางสาวยลดา        เปลี่ยนภู่             เลขที่   24
58010521067      นางสาวศันศนีย์   วงษ์ปุ่น               เลขที่   25
58010521069      นายอภิรัฐการ       อาษาบาล            เลขที่   26
กลุ่มที่ 11 ระบบพิเศษ 

อาจารย์ที่ปรึกษา อ.ดร.ณภัวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ 

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม